|
|
|
กรมสรรพากร
ภาษีอากร 1
ภาษี 2
ภาษี 3
ภาษี 4
ภาษี 5
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 1
เฉลยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี
- สิงหาคม 2019
-
5 ปี ที่ผ่านมา
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
- มีนาคม 2019
6 ปี ที่ผ่านมาภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
- มีนาคม 2018
7 ปี ที่ผ่านมารูปกิจกรรม 2/2560
- กันยายน 2017
7 ปี ที่ผ่านมา
ความหมายของบัญชี
ความหมายของการบัญชี
สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ซึ่งเรียกโดยย่อว่า ส.บช.(The institutg os certisied accountants and audtor of Thailand : ICAAT) ได้ให้ความหมายของการบัญชีไว้ ดังนี้
การบัญชี (Accounting) หมายถึง ศิลปะของการเก็บรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชี คือ การให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้สนใจในกิจกรรมของกิจการ
สมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของประเทศสหรัฐอเมริกา (Tha anerican institute of certisied public accountants : AICPA) ได้ให้ความหมายของบัญชีไว้ ดังนี้
“การบัญชีเป็นศิลปะของการจดบันทึกรายการหรือเหตุการณ์และรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินไว้ในรูปของเงินตรา การจัดหมวดหมู่รายการเหล่านั้น การสรุปผล รวมทั้งการตีความของผลนั้น”
ศาสตราจารย์ W.A. PATON แห่งมหาวิทยาลัยมิซิแกน ได้ให้คำจำกัดความ “ การบัญชี ” (Accounting) ว่า การบัญชี คือ “การช่วยอำนวยให้การบริหารงานเศรษฐกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น” นักบัญชีจึงมีหน้าที่บันทึกรายการ ซึ่งเกิดขึ้นได้กับหน่วยงานธุรกิจเฉพาะที่ สามารถตีค่าเป็นตัวเงินได้รวมทั้งเรียบเรียงจัดแยกประเภท วิเคราะห์ และรายงานผลสรุปของรายการที่เกิดขึ้น
สภาวิชาชีพ (Federation of accounting professions : FAP) ได้กำหนดความหมายของคำว่า การบัญชี ไว้ดังนี้
การบัญชี (Accounting) คือ ศิลปะของการเก็บรวบรวม บันทึก จำแนก และสรุปข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชี คือ การให้ข้อมูลทางการเงินซึ่ง เป็นประโยชน์ต่อบุคคลหลายฝ่ายในกิจกรรมของกิจการ
จากคำนิยามข้างต้น ความหมายของการบัญชีสรุปได้ดังนี้ การบัญชี หมายถึง การรวบรวมวิเคราะห์การจดบันทึกข้อมูลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อน-หลัง ในรูปของเงินตราและจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ รวมถึงการสรุปข้อมูลในรูปของรายงานทางการเงิน จากความหมายดังกล่าวข้างต้นสรุปเป็นขั้นตอนได้ดังนี้
1.การทำบัญชี (Bookkeeping) เป็นหน้าที่ของผู้ทำบัญชี (Bookkeeper) ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
1.1การรวบรวม (Collecinge) หมายถึง การรวบรวมข้อมูลหรือรายการค้าที่เกิดขึ้นประจำวันในการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเงินเช่น หลักฐานการซื่อเชื่อและขายเชื่อ หลักฐานการรับและจ่ายเงิน เป็นต้น
1.2การบันทึก (Recording) หมายถึง การจดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งตามลำดับก่อน-หลังให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป พร้อมกับบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปของหน่วยเงินตรา
1.3การจำแนก (Classifying) หมายถึง การนำข้อมูลที่จดบันทึกไว้ในสมุดรายวันทั่วไปมาผ่านบัญชีแยกประเภทโดยจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ตามหมวดบัญชีประเภทต่างๆเช่น หมวดสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้ และค่าใช้จ่ายเป็นต้น
1.4การสรุปข้อมูล (Summarizing) นำข้อมูลที่ได้จากการจำแนกในบัญชีแยกประเภทดังกล่าวมาสรุปเป็นรายงานทางการเงิน (Accounting Redort) ซึ่งแสดงถึงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของธุรกิจตลอดจนการได้มาและใช้ไปของเงินสดในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง
2.การให้ข้อมูลทางการเงิน แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องหลายฝ่ายเช่น ฝ่ายบริหาร ผู้ให้กู้ เจ้าหนี้ ตัวแทนรัฐบาล นักลงทุน เป็นต้นเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางด้านการเงิน การจดทำงบประมาณ การปรับปรุงระบบบัญชี และการให้สินเชื่อ เป็นต้น
21504