การทำCPR

ขั้นตอนปฏิบัติ CPR วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น ยื้อชีวิต – คืนชีพ 

จากเหตุการณ์ที่ โจ บอยสเก๊าท์ หัวใจวายกลางเวที ขณะเล่นคอนเสิร์ตกับเพื่อนร่วมวง ในผับดังแห่งหนึ่ง ซึ่งได้มีการปฐมพยาบาลช่วยเหลือทั้งปั๊มหัวใจ ผายปอด แต่ยื้อชีวิตไว้ไม่ทัน ทำให้นักร้องคนดังเสียชีวิตในเวลาต่อมา จนกลายเป็นเรื่องราวช็อควงการเพลง สร้างความเศร้าโศกเสียใจให้กับครอบครัวและแฟนคลับอย่างมาก

วันนี้ทีมข่าว MThai ขอนำเสนอวิธีการช่วยเหลือขั้นต้น หากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินดังกล่าว เพื่อจะได้เตรียมตัวได้ทันก่อนที่เจ้าหน้าที่พยาบาลจะมาถึง

การกู้ชีวิต หรือ CPR : Cardiopulmonary  resuscitation หรือหมายถึง การปฏิบัติการเพื่อช่วยฟื้นการทำงานของระบบไหลเวียนเลือด ที่หยุดทำงานอย่างกระทันหัน เพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นเองได้ตามปกติ โดยไม่เกิดความพิการของสมอง

การทำ CPR ขั้นพื้นฐาน ( BCLS ) เมื่อพบผู้ป่วยหมดสติหรือไม่เคลื่อนไหวต้องสำรวจขั้นพื้นฐานโดย

1. ตรวจดูว่าผู้ป่วยหมดสติจริงหรือไม่ โดยการเขย่าตัวเบา ๆ ซึ่งอาจพูดว่า “คุณ ๆ ตื่น ๆ เป็นอะไรหรือเปล่า”

2. เรียกขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น ๆ เพราะในการช่วยเหลือผู้ที่หยุดการหายใจหรือหัวใจหยุดเต้นในระยะอันสั้น ควรมีคนมาช่วยมากกว่า 1 คน เพื่อจะได้ช่วยติดต่อเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องมาช่วยเหลือต่อไป เช่น พูดว่า “ช่วยด้วย ๆ มีคนหมดสติ”

3. จัดท่าผู้ป่วย จัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายราบบนพื้นแข็งเพื่อความสะดวกในการกดหน้าอกหรือนวด หัวใจ การทำ CPR จะต้องให้ผู้ป่วยนอนหงายหลังตรง ศีรษะจะต้องไม่สูงกว่าระดับหัวใจจึงจะทำCPR ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการสำรวจและจัดท่าผู้ป่วยนี้จะต้องใช้เวลาไม่เกิน 10 วินาที

4. A : Airway การดูแลทางเดินหายใจ มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้ทางเดินหายใจโล่ง ดังนี้

4.1 Clear airway ตรวจปากและช่องคอว่ามีสิ่งแปลกปลอม เช่น เศษอาหาร เลือด เสมหะ ฟันปลอมอยู่หรือไม่ เมื่อพบต้องเอาออกโดยใช้ผ้าพันนิ้วกวาดเช็ดออกมาหรือใช้เครื่องดูดออก

ในกรณีทางเดินหายใจอุดกั้นโดยสิ่งแปลกปลอม สังเกตจากผู้ป่วยหายใจมีหน้าอกบุ๋ม เสียงครืดคราดหรือมีเสียง wheese ให้ทำการช่วยเหลือ โดยใช้วิธีกดหน้าท้อง ( Abdominal thrusts / Heimlich maneuver ) หรือกดหน้าอก ( Chest thrusts ) สำหรับในเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี ให้ใช้การตบหลัง ( Back blows ) และกดหน้าอก ร่วมกันเพื่อช่วยให้สิงอุดกั้นทางเดินหายใจหลุดออกมา

4.2 Open airway ต้องทำอย่างรวดเร็ว เพราะเนื่องจากผู้ป่วยที่หมดสติกล้ามเนื้อทั่วร่างกายจะหย่อน โคนลิ้นและ กล่องเสียง ( epiglottis ) ตกไปทางด้านหลังในท่าที่ผู้ป่วยนอนหงาย อุดทางเดินหายใจส่วนบน ดังนั้นจึงต้องเปิดทางเดินหายใจ โดยเร็วดังวิธี

– Head tilt chin lift คือ การดึงขากรรไกรขึ้นแล้วกดหน้าผากให้แหงนหน้า
– Jaw thrust maneuver คือ การดึงขากรรไกรทั้ง 2 ข้างไปข้างบน โดยผู้ช่วยเหลือยืนเหนือศีรษะในขณะที่ผู้ป่วยนอนราบ โดยไม่ต้องเเหงนคอผู้ป่วย วิธีนี้เป็นวิธีเดียวที่แนะนำให้ทำในกรณีผู้ป่วยหมดสติและมีปัญหาของการได้ รับบาดเจ็บบริเวณคอ หรือไขสันหลัง

5. B : Breathing คือ การช่วยหายใจด้วยการ เป่าปากผู้ป่วย ( Mouth to mouth ) โดยการเป่าปากครั้งละประมาณ 5 วินาที หรือ12 ครั้ง/นาที แต่ถ้ากรณีผู้ป่วยหัวใจไม่เต้นต้องเป่าปากพร้อมกับนวดหัวใจ

กรณีผู้ป่วยหมดหยุดหายใจในโรงพยาบาลให้เริ่มช่วยการหายใจทันทีโดย Self – Inflating lung bag พร้อม mask โดยเปิดออกซิเจน 10 ลิตรต่อนาที โดยบีบ bag ให้ได้ปริมาตร 600 มล. 12 ครั้งต่อนาที ในกรณีมีการกดหน้าอกร่วมด้วยให้สัมพันธ์กันในอัตราส่วนการกดหน้าอก 15 ครั้ง ต่อการช่วยหายใจ 2 ครั้ง

ภาวะแทรกซ้อน
– กระเพาะอาหารโป่งและการอาเจียนเนื่องจากการบีบ bag แรงไป หรือจากการจัดท่าศีรษะไม่ดีพอทำให้ลมเข้ากระเพาะมาก
– อากาศรั่วถ้าหน้ากากครอบไม่แนบสนิท
– อันตรายต่อกระจกตา ( Cornea ) จากหน้ากากกดนัยน์ตา
– ภาวะอากาศในโพรงเยื่อหุ้มปอด โดยเฉพาะในเด็กถ้าบีบแรงเกินไป

6. C : Circulation การกดหน้าอกหรือการนวดหัวใจ ให้มีการฉีดเลือดออกจากหัวใจ เพื่อดำรงไว้ซึ่งการไหลเวียนเลือดไปสู่อวัยวะสำคัญ เช่น ปอด สมอง หลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ไตและอวัยวะอื่น ๆ โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการ ดังนี้
6.1 จัดท่าผู้ป่วยในท่านอนหงายบนพื้นราบและแข็ง หรือสอดไม้กระดานหนาและแข็งรองผู้ป่วยไว้ ไม่ใช้หมอนหนุนศีรษะ
6.2 ตำเเหน่งที่วางมือเพื่อนวดหัวใจผู้ป่วย คือ ตอนล่างของกระดูก sternum เหนือรอยต่อของกระดูก sternum และ xiphoid
6.3 การกดใช้แต่สันมือกดโดยไม่ให้นิ้วมือสัมผัสกับผู้ป่วยเลย ใช้มือข้าหนึ่งวางซ้อนบนมืออีก ข้างหนึ่ง สำหรับผู้ใหญ่ สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ ใช้นิ้วนางและนิ้วกลางกด สำหรับเด็กอายุ1 – 8 ขวบ ใช้สันมือข้างใดข้างหนึ่งเพียงข้างเดียว ( Heel of hand )

6.4 ถ้าผู้ป่วยนอนอยู่บนพื้นผู้กดนวดหัวใจต้องคุกเข่า แต่ถ้าอยู่บนเตียงผู้กดนวดต้องยืน แขนทั้งสองข้างเหยียดตรงและขนานกัน ไหล่อยู่ในแนวเหนือกระดูก sternum ของผู้ป่วยพอดี
6.5 วิธีกดนวดหัวใจ กดหน้าอกที่บริเวณดังกล่าวอย่างเร็วและแรง ให้กระดูก sternum ยุบลงไปประมาณ 1.5 –2 นิ้ว ( 3.5 ซ.ม. )ในผู้ใหญ่ , 0.5 – 1 นิ้ว ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ขวบ และ 1 – 1.5 นิ้ว ในเด็กอายุ 1 – 8 ขวบ การกดหน้าอกในผู้ใหญ่ ใช้ hip joints ของผู้กดนวดเป็นจุดหมุน ควรกดนวดอย่างสม่ำเสมอและนุ่มนวล ไม่ชะงักหรือกระตุก ในอัตรา 80 – 100 ครั้ง / นาที

สำหรับผู้ใหญ่ และ 100ครั้ง / นาที สำหรับเด็ก ในขณะที่กดแต่ละครั้งให้นับดัง ๆ หนึ่งและสอง…และสาม…นับไปจนกระทั่งถึง 15 แล้วค่อยสลับการช่วยหายใจ 2 ครั้ง ( CPR 2005 ) ถ้าต้องการหยุดเพื่อสับเปลี่ยนคนกด ให้หยุดได้ไม่เกิน 10 วินาที ขณะทำการกดสันมือจะต้องแตะกับทรวงอกของผู้ป่วยตลอดเวลา แต่ไม่ทิ้งน้ำหนักไว้บนอกของ ผู้ป่วย เพราะจะทำให้ห้องหัวใจขยายตัวเพื่อรับปริมาณเลือดที่ไหลกลับได้ไม่เต็มที่ ให้ทำติดต่อกันจนกว่าหัวใจจะสามารถทำงานได้เอง

ทั้งนี้ การนวดหัวใจและการช่วยการหายใจต้องทำร่วมกันและสัมพันธ์กันโดยการนวดหัวใจ 15ครั้งต่อการช่วยหายใจ 2 ครั้ง ทั้งกรณีที่กระทำ CPR เพียงคนเดียว และ กรณีการทำ CPR 2 คน ( CPR 2005 ) เมื่อสิ้นสุดนาทีแรกของการ CPR หรือครบ 4 รอบ ตรวจสอบการเต้นของหัวใจและการเต้นของชีพจรบริเวณ Carotid Pulse ในผู้ใหญ่

และ Brachial Pulse ในเด็ก ใช้เวลาในการตรวจสอบไม่เกิน 5 – 10 วินาที ถ้ายังไม่มีชีพจรให้ทำการ CPR ต่อไป รวมทั้งการสังเกตการเปลี่ยนแปลงอื่น ๆ ของ ผู้ป่วยที่เกิดขึ้นระหว่าง CPR เช่น รูม่านตาเล็กลง ผิวหนังซีดเขียวน้อยลง แสดงว่ามีการไหลเวียนเลือดดีขึ้น
570005-768x1081.jpg

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


phipatpong

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญ