เครื่องสักการะล้านนา

ความหมายและความสำคัญของเครื่องสักการะล้านนา

ชาวเชียงรายถือว่าเครื่องสักการะมีความสำคัญมากเพราะจังหวัดเชียรายมีประเพณีและวัฒธรรมมากมายและมีเครื่องสักการะเข้ามามีบทบาทต่างๆ อยู่เสมอโดยเห็นได้ชัดคือ งานไหว้สาแม่ฟ้าหลวง งานพ่อขุน งานขบวนประเพณีต่างๆ รวมถึงงานทางศาสนาและงานรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ระดับจังหวัด เป็นต้น

และเครื่องสักการะล้านนาเครื่องหมายของการเคารพสูงสุดของชาวล้านา เครื่องสักการะบูชาของชาวล้านนา มีสิ่งของหลัก คือ ข้าวตอก ดอกไม้ และธูปเทียน   เครื่องสักการะดังกล่าวนี้อาจใช้บูชาบุคคลที่ควรแก่การบูชา รวมไปถึง ผี เทวดา เทพเจ้าและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อ ในฐานะที่ชาวล้านนานับถือศาสนาพุทธเป็นหลัก ก็ได้ใช้เครื่องสักการะบูชาเหล่านี้สำหรับบูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ดังปรากฏคำไหว้ขอขมาแก้วทั้งสาม เป็นที่น่าสังเกตว่า

เครื่องสักการะของชาวล้านนานั้นบ่งบอกถึงความคิดที่ลึกซึ้งของชาวล้านนาในการมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่ควรบูชา โดยการน้อมนำสิ่งของที่มีคุณค่าอันควรแก่การบูชาที่มีอยู่ตามธรรมชาติและเต็มไปด้วยความงดงามที่พิเศษนอกเหนือจากสิ่งที่บริโภคในวิถีชีวิตประจำวัน กล่าวคือ ข้าวตอก ซึ่งโดยปกตินั้นข้าวมีไว้สำหรับบริโภค แต่เมื่อนำมาทำเป็นข้าวตอกก็ถือเป็นสิ่งสักการะ เทียนขี้ผึ้ง (ไม่นับธูปเพราะรับมาจากถิ่นอื่น) ปกติจะไม่นำมาใช้เพื่อให้เกิดแสงสว่าง ถ้าจะมีการใช้ ก็จะใช้เฉพาะการบูชา และที่น่าสนใจยิ่ง คือ ดอกไม้ โดยทั่วไปดอกไม้ที่มีความสวยงามและมีกลิ่นหอมจะไม่มีการนำมาบริโภคเป็นอาหารแต่จะนำมาเป็นเครื่องสักการะ ส่วนวิธีการเก็บดอกไม้เพื่อบูชาพระก็จะกระทำด้วยความนุ่มนวลอ่อนโยนดังได้กล่าวแล้วข้างต้น ตรงนี้สะท้อนให้เห็นการให้ความเคารพต่อธรรมชาติ การปฏิบัติต่อธรรมชาติด้วยความอ่อนโยนและเทิดทูน แสดงถึงพื้นฐานจิตใจที่งดงามของชาวล้านนาซึ่งมีมาช้านาน

เครื่องสักการะล้านนา

หมากสุ่ม หรือพุ่มหมากเบ็ง

        หมากเป็นพืชที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมประเพณีบ้าน ความเป็นอยู่ของคนล้านนาในอดีตคนล้านนานิยมกินหมากตั้งแต่เจ้านายถึงชาวบ้านธรรมดา มักมีเชี่ยนหมากไว้รับแขกผู้มาเยี่ยมเยือน ปีใดเกิดภาวะแห้งแล้ง มีผลกระทบเศรษฐกิจ สภาวการณ์เช่นนี้ เรียกว่า ข้าวยากหมากแพง คือการทำต้นพุ่มนำเอาผลหมากที่ใช้เคี้ยวของบชาวบ้านมาปักใส่ไว้ที่โครงไม้หรือโครงเหล็กที่เตรียมไว้ หมากที่ใช้ทำเรียก “หมากไหม” คือหมากที่ผ่านเป็นซีก ๆ แล้วเสียบร้อยด้วยปอหรือด้ายผูกไว้เป็นพวง ตากแห้งเก็บไว้กินตลอดปีเรียกว่า “หมากไหม” ซึ่งเป็นสิ่งที่ใช้กันในล้านนาไทยมาช้านานแล้ว พวกไทยใหญ่มักจะเรียกชาวล้านนาว่า “โยนโหถากกินหมากไหมยาว” (ชาวยวนหรือโยนกตัดผมเกรียนชอบกินหมากไหมยาว) เมื่อทำโครงไม้ หรือโครงทองเหลืองแล้ว นำหมากไหมมาคลุมโครงนั้นเรียกว่า “หมากสุ่ม
                หมากเบ็ง  คือหมากที่ใช้ไม้หรือทองเหลืองทำเป็นโครงร่างของพุ่มสูงประมาณ๑ศอกแล้วใช้หมากดิบหรือหมากสุก จำนวน ๒๔ ลูกมาผูกติดไว้กับโครงโดยผูกตรึงโยงกันทางล้านนานิยมเรียกว่า “เบ็ง” คือ ตรึงหมากไว้กับโครงพุ่มจึงเรียกว่า “หมากเบ็ง” เกี่ยวกับหมากเบ็งนี้ ครูบาคำแสน อินทจักโก หรือพระครูสุคันธศีล วัดสวนดอก อำเภอเมืองเชียงใหม่ ท่านอธิบายว่า หมากเบ็ง ๒๔ ลูกนี้ เป็นเครื่องหมายแห่งปัจจัย ๒๔ ที่ปรากฏในอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เรียกว่า มหาปัฏฐาน คือ เหตุปัจจโย มีเหตุเป็นปัจจัย อารัมมณปัจจโย อารมณ์เป็นปัจจัย เป็นต้น ที่ท่านนำเอาสิ่งเหล่านี้เข้ามาไว้ในเครื่องสักการะ เพื่อแสดงถึงความจริงที่ปรากฏในรูปสภาวธรรม

ต้นผึ้งหรือพุ่มดอกผึ้ง
    การทำพุ่มดอกผึ้ง หรือดอกจากขี้ผึ้งเป็นของบริสุทธิ์ได้มามาจากเกศรดอกไม้ เหมาะในการนำมาประดิษฐ์ดอกไม้ถวายแด่พระสงฆ์องค์เจ้าและใช้แทนดอกไม้ต่างๆได้ด้วยเครื่องสักการะล้านนา ชาวบ้านถือว่าเป็นของสูง โดยจะใช้ความพยายามในการประดิษฐ์เป็นอย่างมาก งานส่วนใหญ่จะอาศัยศรัทธาเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ความเคารพในสิ่งที่ตนเองนับถืออย่างแรงกล้า เป็นสิ่งที่ผลักดันให้เกิดงานศิลปกรรมที่เกี่ยวกับเครื่องสักการะขึ้นมา เครื่องสักการะล้านนาใช้บูชาเบื้องสูง มีพระพุทธศาสนา ครูอาจารย์ ผู้มีพระคุณ

ต้นดอกหรือพุ่มดอก
     เป็นต้นที่ใช้ไม้หรือทองเหลืองมาทำพุ่มเป็นถาวรไว้ ลักษณะ  เหลี่ยมมีโพรงอยู่ตรงกลางสำหรับเอาดอกไม้สอดเข้าไปโดยมากจะนำเอาใบเล็บครุฑบ้าง ใบดอกใหม่ หรือชะบาบ้าง มาอัดใส่จนเต็มแล้วตัดจนราบเรียบทั้ง  ด้าน ในกรณีนี้ชาวบ้านจะนำเอาดอกไม้มีหลายชนิดมารวมกันทำเป็นต้นดอกก็ได้ส่วนมามักจะนำดอกไม้มีกลิ่นหอมมาประดับเช่น ดอกเกร็ดถวาหรือดอกพุดช้อนนั้นเอง

ต้นพลูพุ่มพลู
 ใบพลูถือว่าเป็นสิ่งที่คู่อยู่กับหมากอยู่แล้ว แต่ความเชื่อเกี่ยวกับพลูของคนล้านนา คนล้านนาโบรานเชื่อถือเกี่ยวกับพลูหลายประการเช่น
- เมื่อออกเรือนให้พกหมาคำพลูคำสำหรับเคี้ยวพกใส่กระเป๋าไปด้วย เชื่อว่าจะเป็นสิหริมงคล
 -ถ้าเอาก้านพลูเขียนคิ้วให้ทารก เชื่อว่าถ้าเด็กโตขึ้นเด็กจะมีคิ้วสวยดังวาด
- ถ้าพบเจอใบพลู ๒ แฉกหรือ พลู๒ หาง ถ้านำติดตัวไปค้าขายจะร่ำรวย
ความสำคัญของเครื่องสักการะ


ต้นเทียนพุ่มเทียน

      โดยมีวิธีทำการนำเทียนเล่มเล็กๆ มาผูกห้อยกับโครงหรือไม้เสียบลูกชิ้น และไปปักหรือติดกับพานหรือพาชนะที่นำมาประดิษฐ์ เพื่อให้พระสงฆ์เก็บนำไปใช้สอยได้เลย สะดวกกว่าต้นผึ้งที่ต้องสะสมไปเพื่อหล่อเทียนเอง

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


kitsadar

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
คหกรรม