ข้อมูลสถานศึกษา

ข้อมูลสถานศึกษา
วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย

ประวัติการจัดตั้ง
1 กันยายน  2481 ตั้งโรงเรียนช่างทอผ้าเชียงราย สัดกัดกองอาชีวศึกษากรมวิชาการ กระทรวงธรรมการ
พ.ศ. 2482 ย้ายมาตั้งเป็นเอกเทศ ณ ที่ตั้งวิทยาลัยฯ ปัจจุบัน
พ.ศ. 2484 อยู่ในสังกัดกองโรงเรียนกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2490 เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนการช่างสตรีเชียงราย
พ.ศ. 2495 อยู่ในสังกัดกองโรงเรียนการช่าง กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2515 อยู่ในสังกัดกองโรงเรียนกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2516 เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนอาชีวศึกษาเชียงราย กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2519 ร่วมกับโรงเรียนการช่างเชียงรายและยกฐานะเป็นวิทยาลัยชื่อวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย
พ.ศ. 2520 อยู่ในสังกัดกองวิทยาลัย กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2523 แยกจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย เขต 1 ตั้งเป็นวิทยาลัยใหม่ แต่ใช้ชื่อเดิมว่า
        “วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย” สังกัดกองวิทยาลัยอาชีวศึกษา กรมอาชีวศึกษา
      กระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2524 เปิดสอนระดับ ปวช. แผนกวิจิตรศิลป์
พ.ศ. 2526 เปิดสอนระดับ ปวส. แผนกบัญชี ผ้า อาหาร และระดับ ปวท.
พ.ศ. 2529 เปิดสอนระดับ ปวส. แผนกคหกรรม
พ.ศ. 2435 เปิดสอน ปวช. แผนกถ่ายภาพ ปวท. แผนกธุรกิจโรงแรม
พ.ศ. 2538 เปิดสอน ปวส. สาขาวิชาการบัญชี และสาขาวิชาการตลาด (ภาคสมทบ) รับจาก
        ผู้จบการศึกษา ระดับ ปวช.
พ.ศ. 2539 เปิดสอน ปวส. สาขาวิชาการเลขานุการ (ระบบปกติ) และ ปวช. สาขาวิชาการโรงแรม
        (ทวิภาคี) สาขาวิชาพณิชยการ กลุ่มวิชาธุรกิจค้าปลีก (ทวิภาคี)
พ.ศ. 2540 เปิดสอนระดับ ปวส. ระบบภาคสมทบ สาขาวิชาการบัญชีและสาขาวิชา
        คอมพิวเตอร์ธุรกิจ, ปวส. สาขาวิชาประติกรรมไทย
พ.ศ. 2541 เปิดสอนระดับปวช. ระบบสะสมหน่วยกิต สาขาวิชาพณิชยการ, ปวส. สาขาวิชาพิมพ์สกรีน
พ.ศ. 2542 เปิดสอนระดับ ปวช. ระบบทวิภาคี กลุ่มวิชาธุรกิจหนังสือพิมพ์และสิ่งพิมพ์, ปวส.
        ระบบปกติ สาขาวิชาวิจิตรกรรมสากลและสาขาวิชาเทคโนโลยีการถ่ายภาพและวีดิทัศน์
พ.ศ. 2543 เปิดสอน ระดับ ปวส. ระบบปกติ สาขาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
พ.ศ. 2544 เปิดสอน ระดับ ปวส. ระบบปกติ สาขาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
พ.ศ. 2546 ได้รับรางวัล สถานศึกษา รางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2546
        รางวัลห้องสมุดดีเด่นระดับภาค ภาคเหนือ
        เปิดสอน ระดับ ปวช. สาขาวิชาเทคโนโลยีศิลปกรรม
พ.ศ. 2549 รางวัลสถานศึกษาประกันคุณภาพภายในดีเด่น ระดับชาติ
        เปิดสอน ระดับ ปวส. สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
พ.ศ. 2550 เปิดสอน ระดับ ปวส. สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก ประเภทวิชาศิลปกรรม


พ.ศ. 2551 -รางวัลชนะเลิศ สุดยอดส้วมสถานศึกษาอาชีวศึกษาแห่งปี 2551 ระดับภาค ภาคเหนือ
พ.ศ. 2552 -ได้รับรางวัล สถานศึกษา รางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2552
            -รางวัลชนะเลิศ สุดยอดส้วมแห่งปี 2552 ของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
            -รางวัลชนะเลิศ สุดยอดส้วมอาชีวะแห่งปี 2552 จากสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา
            -รางวัลชนะเลิศหน่วยงานมาตรฐานดีเด่นระดับภาค ภาคเหนือ ปีการศึกษา 2552
            -รางวัลแบบอย่างการจัดการเรียนการสอนและบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปีการศึกษา 2552
            -รางวัลระดับเหรียญเงิน (ดีมาก) ตามนโยบายสถานศึกษา 3D 2 ด้าน ได้แก่
             ด้านคุณธรรม(D2) และด้านห่างไกลยาเสพติด (D3) ปีการศึกษา 2552 จากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
พ.ศ.2553  -รางวัลชนะเลิศ ระดับเหรียญทอง ด้านการจัดสถานที่ เรียนรู้ทางเทคโนโลยีสอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา ทศวรรษที่สอง ชื่อผลงาน ห้องปฏิบัติการบัญชี
-รางวัลชนะเลิศ ระดับเหรียญเงิน ด้านการจัดสถานที่ เรียนรู้ทางเทคโนโลยี สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา ทศวรรษที่สอง ชื่อผลงาน การพัฒนาซอฟแวร์และเว็บไซต์

ที่ตั้ง
วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ตั้งอยู่เลขที่ 670 ถ.ธนาลัย อ.เมือง ข.เชียงราย 57000
โทรศัพท์ 053-713036,053-740200
โทรสาร 053-711561
Website : http://www.cvc.ac.th
E-mail : [email protected]

พื้นที่
แปลงที่ 1 บ้านพักของครูวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย
            พื้นที่ 4 ไร่ 1 งาน 10 ตารางวา เป็นที่ของราชพัสดุ ทะเบียนที่ ชร.43
  ตั้งอยู่ที่ถนนไกรสรสิทธ์ อ.เมือง จ.เชียงราย 57000
แปลงที่ 2 วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย พื้นที่ 8 ไร่ 2 งาน 6.3 ตารางวา
   ทิศเหนือ    ติด    ถนนอุตรกิจ
   ทิศใต้        ติด    ถนนธนาลัย
   ทิศตะวันออก    ติด    ที่เอกชน
   ทิศตะวันตก    ติด    ที่เอกชน

หลักสูตรการเรียนและการสอน

ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
    รับจากผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เปิดสอน 4 ประเภทวิชา
          ประเภทวิชาพาณิชยกรรม
สาขาวิชาพณิชยการ แบ่งเป็น 4 สาขางาน
สาขางานบัญชี
สาขางานการขาย
สาขางานการเลขานุการ
สาขางานคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
ประเภทวิชาคหกรรม
สาขาวิชาผ้าและเครื่องแต่งกาย
สาขางานธุรกิจเสื้อผ้า
สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
สาขางานอาหารและโภชนาการ
สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์
สาขางานคหกรรมการผลิต
ประเภทวิชาศิลปกรรม
สาขาวิชาศิลปกรรม
สาขางานวิจิตรศิลป์
สาขางานการออกแบบ
สาชางาน เทคโนโลยีศิลปกรรม
ประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
สาขาวิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว
สาขางานการโรงแรม
สาขางานการท่องเทียว
    ประเภทวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
        สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
รับจากผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) และระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย(ม.6)หรือเทียบเท่า เปิดสอน 5 ประเภทวิชา
ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ ระบบปกติ 5 สาขาวิชา
สาขาวิชาการตลาด
สาขาวิชาการบัญชี
สาขาวิชาการเลขานุการ
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
สาขางานการจัดการโลจิสติกส์

ประเภทวิชาคหกรรม
สาขาวิชาเทคโนโลยีและเครื่องแต่งกาย
สาขางานการตัดเย็บเสื้อผ้าสตรีขั้นสูง
สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
สาขางานการประกอบอาหาร
สาขาวิชาการบิหารงานคหกรรมศาสตร์
สาขางานธุรกิจงานประดิษฐ์

ประเภทวิชาศิลปกรรม
สาขาวิชาวิจิตรศิลป์
สาขางานจิตกรรม
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์กราฟิก

ประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ระบบปกติ 4 สาขาวิชา
สาขาวิชาการโรงแรมและบริการ
สาขางานบริการส่วนหน้าโรงแรม
สาขางานครัวโรงแรม
สาขางานสปาและความงาม
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจท่องเที่ยว

ประเภทวิชาเทคโนโลยีสานสนเทศและการสื่อสาร
ระบบปกติ 1 สาขาวิชา
สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
สาขางานเทคโนโลยีสารสนเทศ

ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) (ทวิภาคี)
    รับจากผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)และระดับ มัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า เปิดสอน 2 ประเภทวิชา
ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ
ระบบทวิภาคี 1 สาขาวิชา
สาขาวิชาการจัดการธุรกิจค้าปลีก

ประเภทวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
ระบบทวิภาคี 1 สาขาวิชา
สาขาวิชาการโรงแรมและบริการ

ประเภทวิชาคหกรรม
ระบบทวิภาคี 1 สาขาวิชา
สาขางานการประกอบอาหาร

ระดับเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ) ปริญญาตรีต่อเนื่อง 2 ปี 
    รับผู้จบการศึกษาระดับ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ต่อเนื่อง 2 ปี แบ่งออกเป็น 3 หลักสูตร

สาขาวิชาการท่องเที่ยว
สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ
สาขาวิชาการบัญชี


วิสัยทัศน์ พัธกิจ ยุทธศาสตร์
ของ
วิทยาลัยอาชีวศีกษาเชียงราย

วิสัยทัศน์
“วิทยาลัยอาชีวศีกษาเชียงราย เป็นผู้นำจัดการศึกษาวิชาชีพอย่างมีคุณภาพได้มาตรฐานภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”

พันธกิจ
1. ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านวิชาชีพทุกระดับอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
2. ขยายโอกาสและยกระดับการศึกษาวิชาชีพ
3. บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการจัดกิจกรรมการเรียนละการบริหารจัดการ
4. วิจัยสร้างนวัตกรรม พัฒนาองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาอาชีพ


ยุทธศาสตร์วิยาลัยอาชีวศึกษาชียงราย
1. สร้างโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
2. ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพ ควบคู่กับการปลูกฝังคูณธรรม จริยธรรมที่ดีงาม
3. สนับสนุนการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อตอบสนองในการพัฒนาประเทศ
4. พัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่อคุณภาพอาชีวศึกษาภายใต้หลักปรัชญาองเศรษฐกิจพอเพียง
5. ส่งเสริมการวิจับ สร้างนวัตกรรม พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาอาชีพ
6. สร้างเครือข่ายและส่งเสริมความร่วมมือ
   
ยุทธศาสตร์ที่ 1 : สร้างโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต
เป้าประสงค์ : ขยายโอกาสและยกระดับการศึกษา วิชาชีพ ให้มีคุณภาพ มาตรฐานและส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับชันชน
กลยุทธ์ที่ 1 : จัดการศึกษาวิชาชีพให้หลากหลายและต่อเนื่องจนถึงระดับปริญญา
กลยุทธ์ที่ 2 : บริการและพัฒนาทักษะวิชาชีพ สู่สังคม

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาวิชาชีพควบคู่กับการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมทีดี       งาม
เป้าประสงค์ : ผู้เรียน บุลากรและสถานศึกษามีคุณภาพได้มาตรฐานและมีคุณธรรม จริยธรรมตรงตามความต้องการชองตลาดแรงงานและเป็นพลเมืองดีของสังคม ประเทศชาติ
กลยุทธ์ที่ 3 : พัฒนาคุณภาพและสมรรถนะผู้เรียน
กลยุทธ์ที่ 4 : สร้างมาตรฐานและพัฒนาหลักสูตร กระบวนการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผล
กลยุทธ์ที่ 5 : ส่งเสริมการประกันคุณภาพสถานศึกษา
กลยุทธ์ที่ 6 : ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
กลยุทธ์ที่ 7 : ส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ สื่อ นวัตกรรม มาใช้ในการเรียนการสอน
กลยุทธ์ที่ 8 : อาชีวศึกษาสืบสานศิลปวัฒนธรรม

ยุทธศาสตร์ที่ 3 : สนับสนุนการผลิตและพัฒนากำลังคนเพื่อตอบสนองในการพัฒนาประเทศ
เป้าประสงค์ :  ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาตอบสนองความต้องการของท้องถิ่นและประเทศ
กลยุทธ์ที่ 9 :  สร้างและส่งเสริมค่านิยมการศึกษาวิชาชีพ
กลยุทธ์ที่ 10 : เสริมสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการ

ยุทศาสตร์ที่ 4 : พัฒนาระบบบริหารจัดการมีประสิทธิภาพ ตายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
กลยุทธ์ที่ 11 : พัฒนาระบบบริหารจดการให้มีคุณภาพ
กลยุทธ์ที่ 12 : พัฒนาครูและบุคลากร
กลยุทธ์ที่ 13 : ส่งเสริมให้ครู บุคลากร นักเรียน นักศึกษา ปฏิบัติตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ส่งเสริมการวิจัย สร้างนวัตกรรม พัฒนาองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาชีพ
เป้าประสงค์ : ผลงานวิจัยและนวัตกรรมเป็นที่ยมรับ มีการเผยแพร่และนำไปใช้ประโยชน์
กลยุทธ์ที่ 14 : ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เทคโนโลยีและสิ่งประดิษฐ์

ยุทธศาสตร์ที่ 6 : สร้างเครือข่ายและส่งเสริมความร่วมมือ
เป้าประสงค์ : สร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือทั้งภายและต่างประเทศเพื่อพัฒนาการจักการศึกษาและบุคลากร
กลยุทธ์ที่ 15 : ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษา
กลยุทธ์ที่ 16 : เพิ่มเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษาทั้งในและนอกประเทศ

นโยบายวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย
1. พัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนการสอน
2. พัฒนาอาคารสถานที่ เครื่องมือ วัสดุ ครุภัณฑ์ อุปกรณ์ประกอบการเรียน การสอน สื่อการสอน
3. ผู้สำเร็จการศึกษามีสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์
4. เพิ่มเครือข่ายความร่วมมือในการจัดการศึกษา
5. พัฒนาคุณภาพ ครู และบุคลากรทางการศึกษา
6. นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ มาใช้ในการบริหารจัดการ
7. ประกันคุณภาพการศึกษา
8. สบสานศิลปวัฒนธรรม ระเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
9. เสริมสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการ

ปรัชญาวิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย

“สามัคคี มีวินัย ใจนักกีฬา พัฒนาอาชีพ”
คือปรัชญาการทำงานของสถานศึกษาที่ใช้เป็นหลักในการดำเนินงานบริหารวิทยาลัยตลอดจนการจัดการเรียน การสอนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล
 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :



สถานะ : ผู้ใช้ลงทะเบียน
ไม่ระบุ