การปฐมพยาบาล ข้อเท้าแพลง

ข้อเท้าแพลง (ankle sprain) เป็นอุบัติเหตุที่ขึ้นโดยที่เราไม่ได้คาดคิด ซึ่งสาเหตุที่ทำให้ข้อเท้าแพลงนั้นก็มีหลายสาเหตุ เช่น เกิดจากอุบัติเหตุรอบตัว การออกกำลังกาย เป็นต้น

 

สาเหตุหลักๆที่ทำให้ข้อเท้าแพลงคือ

  1. อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

ในปัจจุบันสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเท้าแพลงมาจากอุบัติเหตุเล็กๆน้อยๆเป็นส่วนใหญ่ เช่น ตกบันได ก้าวพลาด ตกส้นสูง เท้าพลิก  เป็นต้น

  1. อุบัติเหตุจากการออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา

อาการเท้าแพลงที่เกิดขึ้นมากที่สุดจะมาจากการออกกำลังกายโดยอาการที่เท้าแพลงที่เกิดขึ้นนั้นอาจจะมาจากการที่เอ็นและเนื้อเยื่อรอบข้อเท้านั้นฉีกขาด เลยทำให้ข้อเท้าไม่มั่นคง ซึ่งกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการเท้าแพลงนั้น เช่น วิ่ง หกล้ม  เล่นกีฬาข้อเท้าพลิก เป็นต้น

  1. อุบัติเหตุจากการสวมรองเท้าที่ไม่เหมาะกับขนาดเท้า โดยสำหรับคุณผู้หญิงที่ใช้รองเท้าส้นสูงจะเพิ่มโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ข้อเท้าพลิกขณะสวมใส่ทำกิจกรรมได้
  2. ลักษณะอาการเบื้องต้น

              ระดับที่ 1 : มีอาการปวด บวม กดแล้วเจ็บ  ที่บริเวณเท้า

              ระดับที่ 2 : เอ็นและเนื้อเยื่อรอบข้อเท้ามีการฉีกขาดบางส่วน ปวด บวม ที่บริเวณเท้ามาก

              ระดับที่ 3 : ระดับนี้รุนแรงที่สุด เอ็นที่บริเวณเท้ามีการฉีกขาดทั้งหมด เดินลงน้ำหนักไม่ได้

     

    วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นเมื่อข้อเท้าแพลง

     

    หลักการ R.I.C.E

    1. R-Rest นั่งพักเพื่อสังเกตอาการจากข้อเท้าแพลงว่ารุนแรงไหม
    2. I-ICE ประคบเย็นเพื่อลดบวมและช่วยให้เลือกออกน้อยลง โดยประคบเย็นประมาณ 15 นาที ทุกๆ 2 ชม. ข้อห้ามไม่ควรประคบร้อน หรือนวดบริเวณที่เกิดการบาดเจ็บในระยะแรกเพราะจะทำให้บวมมากยิ่งขึ้น
    3. C-Compression ใช้ผ้าพันบริเวณที่บวม และพยายามไม่เคลื่อนไหว ถ้าไม่จำเป็นเพราะจะทำให้ ปวดในบริเวณที่ได้รับบาดเจ็บ
    4. E-Evaluation ยกปลายเท้าให้สูงขึ้น เพื่อลดบวมและลดความเจ็บปวด

    พบแพทย์

    1. เมื่อเราได้ทำการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นควรรีบไปพบแพทย์ โดยแนวทางการรักษาทางการแพทย์มีดังนี้

    2. ซักประวัติและตรวจร่างกายโดยเฉพาะบริเวณที่มีอาการปวด

    3. พิจารณาตรวจทางรังสีเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีกระดูกหัก

    4. โดยทั่วไปจะใช้เวลารักษา 6-8 สัปดาห์ แต่ภาวะข้อเท้าบวมจะหายก่อน

    5. พักเท้าให้มากที่สุด อาจจะใส่เผือก หรือใช้ผ้าพัน และอาจจะใช้ไม้เท้าช่วยพยุงน้ำหนัก

    6. การประคบน้ำแข็งให้กระทำทันที่ที่ได้รับอุบัติเหตุซึ่งจะช่วยลดอาการอักเสบได้มาก

    7. ใช้ผ้าพันหรือใส่เผือกเพื่อลดอาการบวม

    8. ให้ยกเท้าสูงเพื่อลดอาการบวม

    ผลกระทบที่เกิดขึ้น

    ผลกระทบที่เกิดขึ้นเมื่อเราข้อเท้าแพลงนั้นคือ  มีโอกาสเท้าพลิกได้ง่ายกว่าคนทั่วไป มีอาการปวดข้อเท้าหรือกระดูกข้อเท้าเรื้อรัง โดยทั้งนี้เมื่อเราเกิดอาการเท้าแพลง ควรปฐมพยาบาลเบื้องต้น และรอดูอาการถ้าไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์ทันที

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


Pongpinit

สถานะ : ผู้ใช้ทั่วไป
สามัญ