การรับรู้รายได้แบบใหม่ และ 6 ปัจจัยที่ต้องคำนึงเกี่ยวกับการรับรู้รายได้แบบใหม่

บทความ “การรับรู้รายได้แบบใหม่” และ “6 ปัจจัยที่ต้องค านึงเกี่ยวกับการรับรู้รายได้แบบใหม่”

เขียนโดย นาย Ken Tysiac บรรณาธิการอาวุโส วารสารทางด้านบัญชี (Journal of Accountancy: JofA) ตีพิมพ์โดยสมาคมนักบัญชีและผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาตแห่งสหรัฐอเมริกา (The American Institute of Certified Public Accountants: AICPA) พฤษภาคม พ.ศ. 2557

การรับรู้รายได้แบบใหม่
คณะกรรมการก าหนดมาตรฐานการรายงานทางการเงินแห่งสหรัฐอเมริกา (The Financial Accounting Standards Board: FASB) และคณะกรรมการก าหนดมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (The International Accounting Standards Board: IASB) ได้ออกมาตรฐานการรับรู้รายได้จากสัญญาที่ท ากับ ลูกค้า ซึ่งมาตรฐานนี้จัดท าขึ้นเพื่อให้ผู้ใช้งบการเงินสามารถเปรียบเทียบงบการเงินข้ามกลุ่มอุตสาหกรรมและข้าม เขตการปกครองได้ดีขึ้น

แนวปฏิบัติใหม่นี้ได้ท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมากกับหลายๆ บริษัทในประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งในอดีตมีบทความที่ตีพิมพ์กว่า 200 ชิ้นเกี่ยวกับการรับรู้รายได้ อันท าให้เกิดชุดของกฎเกณฑ์การรับรู้รายได้ที่มี ความเฉพาะต่อกลุ่มอุตสาหกรรมหลายชุด แต่กฎเกณฑ์ชุดใหม่นี้จะมีลักษณะที่เป็นหลักการ (Principle-Based Approach) มากกว่าการรับรู้รายได้แบบเดิมที่หลายๆ บริษัทมีความคุ้นเคย ในขณะเดียวกันวิธีปฏิบัติใหม่นี้ได้รับการพัฒนาให้ข้อก าหนดของมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ระหว่างประเทศ (International Financial Reporting Standards: IFRS) มีความเคร่งครัดยิ่งขึ้น ซึ่งจากเดิมใน มุมมองของผู้ก าหนดมาตรฐานยังมองว่า IFRS ขาดรายละเอียดที่เพียงพอ โดยการออกมาตรฐานการรับรู้รายได้ใหม่ นี้ได้ท าให้โครงการที่ได้ริเริ่มท าในปี พ.ศ. 2551 บรรลุผล

6 ปัจจัยที่ต้องค านึงเกี่ยวกับการรับรู้รายได้แบบใหม่

FASB และ IASB มีความเห็นเรื่องปัจจัยที่ต้องค านึงเกี่ยวกับการรับรู้รายได้แบบใหม่ นอกเหนือจากประโยชน์ในเรื่องการเปรียบเทียบงบการเงินข้ามกลุ่มอุตสาหกรรม โดยได้กล่าวถึง 6 ปัจจัย ดังนี้

1. การเปิดเผยข้อมูลคือกุญแจส าคัญ ประโยชน์ที่นักลงทุนจะได้รับจากข้อก าหนดในมาตรฐานใหม่นี้ คือการเปิดเผยข้อมูลที่มากขึ้น โดยนาย Russell Golden ประธาน FASB กล่าวว่าการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการค านวณที่ใช้ในการประมาณราคา ขายแบบ Stand-Alone ส าหรับพันธสัญญาที่ต้องส่งมอบสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้าแบบต่างๆ และข้อมูลเกี่ยวกับ ช่องทางที่จะได้รับรายได้ในอนาคตนั้นจะช่วยในการตัดสินใจของนักลงทุน นาย Marc Siegel ซึ่งเป็นสมาชิกของ FASB กล่าวเสริมว่านักลงทุนจะได้รับประโยชน์จากการเปิดเผย ข้อมูลแบบใหม่ ไม่ว่าจะเป็นสินทรัพย์ตามสัญญา หนี้สินตามสัญญา และข้อผูกพันที่เหลืออื่นๆ โดยผู้ใช้งบการเงินจะ เข้าใจการรับรู้รายได้ของบริษัทอย่างเป็นหลายมิติมากขึ้นกว่าในอดีต จากค าอธิบายเพิ่มเติมหรือหมายเหตุที่แสดง

2. ซอฟต์แวร์ โทรคมนาคม และอสังหาริมทรัพย์เป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุด นาย Russell Golden ประธาน FASB และนาย Ian Macintosh รองประธาน IASB ต่างลงความเห็นว่า ซอฟต์แวร์ โทรคมนาคม และอสังหาริมทรัพย์เป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่จะมีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ซึ่งเป็นผลมา จากมาตรฐานใหม่นี้ นาย Golden กล่าวว่า บริษัทต่างๆ ในธุรกิจบริหารจัดการสินทรัพย์ จะเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงที่ส าคัญ ของหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปของสหรัฐอเมริกา (United States’ Generally Accepted Accounting Principles: U.S. GAAP) โดยนาย Mackintosh รองประธาน IASB ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวกับการก าหนด มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ กล่าวเสริมว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากกับสัญญาก่อสร้างในมาตรฐานการ รายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (International Financial Reporting Standards: IFRS) ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มี ข้อก าหนดเฉพาะบางประการส าหรับกลุ่มอุตสาหกรรมด้วย จากมุมมองของสหรัฐอเมริกา ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซอฟต์แวร์ และอุตสาหกรรมโทรคมนาคม จะมี แนวโน้มรับรู้รายได้เร็วขึ้นภายใต้มาตรฐานแบบใหม่

3. มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (International Financial Reporting Standard: IFRS) จะมีความเข้มงวดมากขึ้น โดยได้มีการปรับปรุงจากงานตีพิมพ์เรื่องการรับรู้รายได้กว่า 200 ชิ้น มาเป็นมาตรฐานที่มีเนื้อหาครอบคลุม จ านวน 1 ฉบับ ส่งผลให้ U.S. GAAP มีการพัฒนาขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้นาย Macintosh กล่าวว่า IFRS ก็จะมีการ ปรับปรุงอย่างมากเช่นกัน นอกเหนือจากปรับปรุงด้านการเปรียบเทียบกันได้ระหว่างประเทศต่างๆ ทั่วโลก นาย Macintosh กล่าวว่า “เราเห็นว่ามาตรฐาน IFRS นั้นยังไม่สมบูรณ์ โดยเรามีแนวปฏิบัติบางประการที่ ได้รับการพัฒนาในอดีต แต่ก็ยังไม่ถึงขั้นดีเลิศ แต่เราก็หวังว่ามาตรฐาน IFRS ใหม่ที่จะปรับปรุงขึ้นนี้ ซึ่งมุ่งเน้น ทางด้านหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน และเมื่อคุณให้บริการแก่ลูกค้า มาตรฐานฉบับนี้จะช่วยสะสางแนว ปฏิบัติในอดีตที่ผ่านๆ มา”

4. กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจะให้ค าแนะน าเรื่องการเปลี่ยนแปลง โดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้ ซึ่งได้รับการแต่งตั้งโดย FASB และ IASB จะคอยให้ค าแนะน าในการตีความ มาตรฐานฉบับนี้แก่ผู้จัดเตรียมงบการเงิน แต่กลุ่มผู้เชี่ยวชาญนี้ไม่ใช่ผู้ก าหนดระเบียบแนวปฏิบัติทางบัญชี นาย Macintosh กล่าวว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจะรับค าถามจากผู้จัดเตรียมงบการเงิน โดยจะแนะแนวค าตอบ ตามที่ก าหนดในมาตรฐานนั้น ส่วนค าถามที่มาตรฐานนั้นไม่ครอบคลุม กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจะประสานกับ FASB และ IASB ต่อไป

5. ข้อมูลการขายสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์การเงิน (Nonfinancial Assets) จะถูกแสดงได้ดีขึ้น นาย Siegel กล่าวว่า ข้อมูลการขายสินทรัพย์ที่ไม่ใช่สินทรัพย์การเงิน (Nonfinancial Assets) แก่ผู้ที่ไม่ใช่ ลูกค้า จะสะท้อนสภาวะทางเศรษฐกิจของรายการต่างๆ ภายใต้ข้อก าหนดใหม่ของ U.S. GAAP ยกตัวอย่างเช่น การ ที่กิจการผลิตสินค้าได้ขายอาคารส านักงานใหญ่และที่ดินที่ส านักงานนั้นตั้งอยู่ ซึ่งภายใต้มาตรฐานบัญชีการเงิน (Financial Accounting Standards: FAS) ฉบับที่ 66 อาจจะไม่ได้สะท้อนถึงสภาวะทางเศรษฐกิจของรายงานนั้น ภายใต้มาตรฐานใหม่นี้ ทุกคนจะมองไปในแนวทางเดียวกัน และจะรับรู้และวัดมูลค่าก าไรจากการขาย อสังหาริมทรัพย์นั้นในแนวทางเดียวกันตามที่มาตรฐานนี้ก าหนด และถือเป็นการพัฒนาที่ส าคัญที่เกิดขึ้นกับ อุตสาหกรรมที่มีความเฉพาะภายใต้ FAS ฉบับที่ 66

6. ก าหนดวันบังคับใช้ ผู้จัดเตรียมงบการเงินบางคนที่ประสงค์จะใช้วิธีการปรับย้อนหลัง (Retrospective Transition Method) พวกเขามีความกังวลว่าวันบังคับใช้จะไม่ได้ให้เวลาพวกเขาอย่างเพียงพอในการจัดเตรียมระบบที่จะท าให้ได้มาซึ่ง ข้อมูลที่ต้องการ มาตรฐานนี้จะมีผลกับบริษัทมหาชนของสหรัฐอเมริกา ส าหรับรอบระยะเวลารายงานประจ าปีที่เริ่มขึ้น หลังจากวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559 รวมถึงรอบระยะเวลารายงานระหว่างกาล ส าหรับกลุ่มบริษัทที่ใช้ IFRS จะต้องใช้มาตรฐานนี้กับรอบระยะเวลารายงานที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ดังนั้นจึงหมายความว่าผู้จัดเตรียมงบการเงินที่เลือกใช้วิธีปรับย้อนหลังแบบเต็มรูป (Full Retrospective Transition Method) แทนที่จะใช้วิธีทางเลือก (Alternate Method) นั้น อาจจะต้องมีระบบที่พร้อมจะจัดเก็บ ข้อมูลส าหรับการรายงาน 2 แบบ (Dual Reporting) ภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2558 โดยหลายคนก็กังวลว่าจะ ให้เวลาไม่เพียงพอ แต่ ณ ตอนนี้ก็ดูเหมือนว่าคณะกรรมการยังมีความประสงค์จะให้ใช้วันบังคับใช้ดังกล่าวอยู่ นาย Golden กล่าวว่า คณะกรรมการมีความตั้งใจที่จะรับฟังค าถามจากผู้จัดเตรียมงบการเงิน แต่ ณ ขณะนี้ วันบังคับใช้ดังกล่าวคือวันที่คณะกรรมการได้ก าหนดไว้ “เราสามารถหาความสมดุลได้เสมอระหว่างการให้เวลาพวกเขาเป็นระยะเวลานานกับการท าบางอย่างให้ ลุล่วงไปในเวลาที่จ ากัด และผมคิดว่าก าหนดบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นความสมดุลที่เหมาะสม โดยหากไม่มีเหตุจ าเป็นที่ส าคัญมากเกิดขึ้น ผมคิดว่าวันก าหนดบังคับใช้ดังกล่าวไม่น่าจะเปลี่ยนแปลง” นาย Macintosh กล่าวเสริม

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ติชม


ต้องการให้คะแนนบทความนี้่ ?

สร้างโดย :


150522141408

สถานะ : ผู้ใช้ลงทะเบียน
การบัญชี