วิจัยในชั้นเรียน 1/2559
เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา บัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า ของนักเรียนระดับ ประกาศนียบัตรวิชีพ (ปวช.) ชั้นปีที่ 2 (ห้อง ชพบ.2/5) สาขาวิชาการบัญชี โดยใช้การสอนซ่อมเสริม
ชื่อผู้วิจัย นางสาวสุนิสา รัตนประยูร
สาขาวิชา การบัญชี
ปีการศึกษา 1 / 2559
1. ความเป็นมาของการวิจัย (สภาพปัญหา)
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 มาตรา 6 การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทย ให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มาตรา 24 การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการจัดเนื้อหาสาระ และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้ เพื่อป้องกันและแก้ไข จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็นรักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่างๆอย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในรายวิชา
นอกจากนั้นสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้กำหนดนโยบายมาตรฐานหลักสูตรอาชีวศึกษาทุกระดับ เพื่อสร้างคุณภาพมาตรฐานให้สอดคล้องกับมาตรฐานความต้องการทางด้านกำลังคน อาชีพ การพัฒนาระบบคุณภาพ มาตรฐาน เพื่อมุ่งพัฒนาหลักสูตรจากมาตรฐานอาชีพ (Occupation Standard) มาตรฐานสมรรถนะ (Competency Standard) มาตรฐานการศึกษาวิชาชีพ (Vocational Education Standard) มาตรฐานสถานศึกษา (Institutional Standard) โดยการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยี โดยเฉพาะการนำวิจัยเข้าปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research) มาใช้ เพื่อให้ครูมีบทบาทในการจัดการเรียนการสอนวิชาชีพที่จะปรับให้มีการบูรณาการทฤษฎีและปฏิบัติ ครูจึงจำเป็นต้องดำเนินการวิจัยเพื่อให้เกิดการเรียนรู้จริง อันส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของผู้เรียนสูงขึ้น
วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย มีนโยบายให้ครูผู้สอน นำวิจัยในชั้นเรียนไปใช้แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการเรียน เพื่อลดปัญหานักเรียนมีผลสัมฤทธิ์การเรียนต่ำ ไม่สนใจเรียน ขาดความรับผิดชอบ ซึ่งวิชาการบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า (2201-2001) เป็นวิชาที่ต้องทำความเข้าใจและหมั่นศึกษาหาความรู้และที่ผ่านมาการสอนวิชาการบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า (2201-2001) ประสบปัญหานักเรียนขาดความรับผิดชอบ อันส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำกว่าเกณฑ์ ในฐานะครูผู้สอนและรับผิดชอบวิชาการบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า (2201-2001) จึงใช้การสอนซ่อมเสริม เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น
2. วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการวิจัย
- เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาการบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า (2201-2001) ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 (ชพบ. 2/5) สาขาวิชาการบัญชี โดยใช้การสอนซ่อมเสริม
- เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังการเรียน
3. สมมติฐานของการวิจัย
นักเรียนที่เรียน โดยใช้การสอนซ่อมเสริม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. ขอบเขตของการวิจัย
ประชากร ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 (ห้อง ชพบ.2/5) สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 29 คน
5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
5.1 เป็นการพัฒนาการเรียนการสอนวิชาการบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า (2201-2001) ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 (ห้อง ชพบ.2/5) สาขาวิชาการบัญชี ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
5.2 เป็นการส่งเสริม สนับสนุนให้นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 (ห้อง ชพบ.2/5) สาขาวิชาการบัญชี มีความรู้ ความเข้าใจในวิชาการบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า (2201-2001) มากขึ้น
5.3 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า (2201-2001) ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 (ห้อง ชพบ.2/5) สาขาวิชาการบัญชี ที่เรียนโดยใช้การสอนซ่อมเสริม
6. วิธีการดำเนินการวิจัย
6.1 เครื่องมือในการวิจัย ประกอบด้วย
6.1.1 แบบฝึกหัด
6.1.2 สร้างแบบทดสอบ ก่อนเรียนและหลังเรียน เป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ 2 ฉบับ
6.1.3 นำแบบทดสอบไปทดลองใช้กับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระดับชั้นปีที่ 2 (ห้อง ชพบ.2/5) สาขาวิชาการบัญชี จำนวน 29 คน ที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงราย อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
7. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล หลังจากการสอนซ่อมเสริมตามขั้นตอน ดังนี้
- ผู้วิจัยได้ดำเนินการให้นักเรียน จำนวน 29 คน ทำแบบทดสอบก่อนทำการสอนซ่อมเสริม หลังจากนั้นครูทบทวนเนื้อหาที่เคยเรียน ซึ่งเนื้อหาที่ต่อเนื่องกับเนื้อหาใหม่ที่จะเรียน
2. ผู้วิจัยได้นำวิธีการสอนซ่อมเสริมมาใช้พัฒนาการจัดการเรียนการสอน วิชาการบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า (2201-2001) ดังนี้
2.1 ผู้วิจัยให้นักเรียนแบ่งกลุ่มโดยคละความสามารถ โดยการแบ่งสมาชิกในห้องออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 4 - 5 คน ในแต่ละกลุ่ม ประกอบด้วย นักเรียนทั้งเก่ง ปานกลางและอ่อน แต่ละกลุ่มจะมีทั้งนักเรียนชายและหญิง
2.2 หลังจากนั้นผู้วิจัยให้ความรู้หรือเนื้อหาใหม่ โดยดำเนินการสอนตามจุดประสงค์ที่วางไว้
3. ผู้วิจัยมอบหมายให้นักเรียน จัดทำแบบฝึกหัดโดยครูผู้สอนเป็นผู้กำหนดแบบฝึกหัด และให้คำแนะนำนักเรียนอย่างใกล้ชิด เพื่อลดข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น และตรวจให้คะแนนแบบฝึกหัด
4. นำแบบทดสอบ มาวัดว่านักเรียนแต่ละคนมีความรู้มากน้อยเพียงใด โดยให้นักเรียน ทำแบบทดสอบหลังการสอน
5. ผู้วิจัยได้สรุปผลจากแบบทดสอบก่อน-หลังการเรียน นำมาเปรียบเทียบเรียงลำดับคะแนนมากน้อย แล้วนำคะแนนมาวิเคราะห์โดยวิธีการทางสถิติ
8. การวิเคราะห์ข้อมูล
8.1 ผู้วิจัยได้สรุปรวบรวมผลการจัดทำแบบฝึกหัด วิชาการบัญชีสำหรับกิจการซื้อขายสินค้า (2201-2001) เรื่อง การบันทึกรายการลงในสมุดรายวันเฉพาะ ผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภททั่วไปและจัดทำงบทดลอง จำนวน 2 ชุด มาตรวจให้คะแนนจากการทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างมาวิเคราะห์ข้อมูล
8.2 หลังจากการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสอนซ่อมเสริม นำแบบทดสอบมาตรวจให้คะแนน โดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน
9. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. สถิติพื้นฐาน ได้แก่
1.1 ค่าร้อยละ
1.2 ค่าเฉลี่ย (Mean) ของคะแนนใช้สูตร (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 105)
1.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
1.4 สถิติ t – test แบบ dependent
10. ผลการวิจัย
จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล สามารถนำผลการวิจัยมาอภิปรายผล ได้ดังนี้
จากผลการวิจัยด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เมื่อใช้การสอนซ่อมเสริมนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นกว่าที่สอนแบบปกติ ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ นั่นคือ ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยการสอนซ่อมเสริมทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น รวมทั้งนักเรียนมีพัฒนาการด้านทักษะการวิเคราะห์รายการค้าและสามารถบันทึกบัญชีได้ดีขึ้น และสามารถแก้ไขปัญหาการเรียนของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำได้
ก่อนเรียน |
||||
|
Value |
Count |
Percent |
|
Standard Attributes |
Position |
1 |
|
|
Label |
|
|
||
Type |
Numeric |
|
|
|
Format |
F8 |
|
|
|
Measurement |
Nominal |
|
|
|
Role |
Input |
|
|
|
Valid Values |
2 |
|
1 |
3.3% |
3 |
|
1 |
3.3% |
|
4 |
|
2 |
6.7% |
|
5 |
|
7 |
23.3% |
|
6 |
|
9 |
30.0% |
|
7 |
|
8 |
26.7% |
|
8 |
|
1 |
3.3% |
|
Missing Values |
System |
|
1 |
3.3% |
ตารางที่ 1 แสดงร้อยละ ของคะแนนก่อนเรียน (Pretest)
จากตารางที่ 1 สรุปผลการวิจัยในภาพรวม พบว่านักเรียนจำนวน 29 คน มีคะแนนในการทำแบบฝึกหัด ก่อนเรียน (Pretest) ส่วนใหญ่ได้ 6 คะแนน มี 9 คน คิดเป็นร้อยละ 30.0 รองลงมา คือ 7 คะแนน มี 8 คน คิดเป็นร้อยละ 26.70
หลังเรียน |
||||
|
Value |
Count |
Percent |
|
Standard Attributes |
Position |
2 |
|
|
Label |
|
|
||
Type |
Numeric |
|
|
|
Format |
F8 |
|
|
|
Measurement |
Nominal |
|
|
|
Role |
Input |
|
|
|
Valid Values |
7 |
|
2 |
6.7% |
8 |
|
8 |
26.7% |
|
9 |
|
14 |
46.7% |
|
10 |
|
5 |
16.7% |
|
Missing Values |
System |
|
1 |
3.3% |
ตารางที่ 2 แสดงร้อยละ ของคะแนนหลังเรียน (Posttest)
จากตารางที่ 2 สรุปผลการวิจัยในภาพรวม พบว่านักเรียนจำนวน 29 คน มีคะแนนในการทำแบบฝึกหัด หลังเรียน (Posttest) ส่วนใหญ่ได้ 9 คะแนน มี 14 คน คิดเป็นร้อยละ 46.70 รองลงมา คือ 8 คะแนน มี 8 คน คิดเป็นร้อยละ 26.70
Paired Samples Statistics |
|||||
|
Mean |
N |
Std. Deviation |
Std. Error Mean |
|
Pair 1 |
ก่อนเรียน |
5.72 |
29 |
1.33 |
.25 |
หลังเรียน |
8.76 |
29 |
.83 |
.15 |
ตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
จากตารางที่ 3 สรุปผลการวิจัยในภาพรวม พบว่านักเรียนจำนวน 29 คน มีคะแนนเฉลี่ยในการทำแบบฝึกหัดก่อนเรียน (Pretest) mean = 5.72 , S.D. = 1.33 หลังเรียน (Posttest) mean = 8.76 , S.D. = 0.83
แสดงว่า นักเรียนมีการพัฒนาในด้านการเรียนหลังเรียนดีขึ้น กว่าก่อนเรียน
Paired Samples Test |
|||||||||
|
Paired Differences |
t |
df |
Sig. (2-tailed) |
|||||
Mean |
Std. Deviation |
Std. Error Mean |
95% Confidence Interval of the Difference |
||||||
Lower |
Upper |
||||||||
Pair 1 |
ก่อนเรียน – หลังเรียน |
3.034 |
1.451 |
.269 |
-3.586 |
2.482 |
11.261 |
28 |
.00 |
**P < .001
ตารางที่ 4 แสดง t – test เปรียบเทียบระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
จากตารางที่ 4 จากการวิเคราะห์ด้วยสถิติ t – test ในภาพรวมพบว่า จากค่าเฉลี่ยในตารางที่ 3 นักเรียนมีผลการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นจากก่อนเรียน แสดงว่ายอมรับและเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p < .01 ( t = 11.261 )
11. สรุปผลการวิจัย
จากผลการวิจัย สรุปในภาพรวม ผลที่ได้คือสอดคล้องตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ แบบฝึกหัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสามารถพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นบทเรียนประเภทสอดแทรกเนื้อหาของบทเรียน ซึ่งผู้วิจัยได้ออกแบบและเสนอเนื้อหาในหน่วยย่อย ๆ ในปริมาณที่เหมาะสมกับความยากง่าย กิจกรรมการเรียนจึงคล้ายกับการเรียนการสอนจริงในชั้นเรียน
12. ข้อเสนอแนะ
12.1. ข้อเสนอแนะทั่วไป
12.1.1 การสอนซ่อมเสริมแต่ละครั้ง ควรให้นักเรียนแต่ละคนมีความตั้งใจร่วมปฏิบัติตามกิจกรรมที่ครูผู้สอนกำหนด และทำแบบฝึกหัดด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
12.1.2 ควรสอนซ่อมเสริมกับเนื้อหาที่นักเรียนไม่เข้าใจ เพราะจะทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น