พัฒนาคนให้คุ้มค่า พัฒนาที่ความคิด

 

พัฒนาคนให้คุ้มค่า พัฒนาที่วิธีคิด

ศาสตราจารยนายแพทยวิจารณ์ พานิช

 

ทานคณบดี ทานรองคณบดี ทานอาจารย และคณะครอบครัว สมาชิกของคณะแพทยศาสตร์ทุกทานครับ การที่ได้มาเห็นกิจกรรมคุณภาพอย่างต่อเนื่องในคณะแพทยศาสตร์ของเราอย่างในวันนี้ หรือว่าที่จริงก็ได้เห็นเรื่อยมานะครับ เป็นการได้รับความสุข ซึ่งอาจจะมีผลในการต่ออายุคนแก่อย่างผมได้ดวย เรื่องของกิจกรรมคุณภาพนี้เป็นเรื่องที่หลายคนในหองนี้ได้เคยร่วมกันฟันฝ่ามานะครับ และคงนึกได้ว่าตอนชวงที่เราเริ่ม เราก็ไม่มั่นใจหรอกครับ เพียงแต่เรามีความเชื่อบางอย่าง ว่าถาฟันฝ่าไปสักระยะหนึ่งจะเห็นผล ซึ่งนาจะเป็นการเริ่มต้นที่สําคัญ คือเมื่อเริ่มจะทําสิ่งดี ๆ สิ่งที่มีคุณค่าสูง  สวนใหญ่ความคิดในขณะนั้นมักจะเป็นความเชื่อ เป็นความคิดที่ไม่มั่นใจแต่เชื่อ และเป็นความคิดแบบ ambiguous (กํากวม) อยู่ในตัว และหวังอย่างแรงกล้าว่าน่าจะทําได้ ซึ่งนี่ก็เป็นตัวอย่างของความคิดหนึ่ง เพราะฉะนั้นคนที่อยู่ในชวงป พ. ศ. 2528, 2529 ที่เราเคยผลักดัน ก็คงจําได้ว่าบรรยากาศเป็นยังไง มีคนไม่เห็นดวยก็เยอะ คนที่เห็นดวยบางคนก็อาจกระโจนเร็วไปหนอย ผมเองก็อยู่ในสภาพที่เรียกได้ว่าไม่มั่นใจนัก

 

ความต่อเนื่องเป็นเรื่องสําคัญ

เมื่อกี้ ผมเรียนทานคณบดี ตอนนั่งคุยกันว่า จริง ๆ แล้วการที่คณะแพทยเราอยู่ในสภาพอย่างนี้ได้ ซึ่งหมายความว่าเวลามีใคร มาดูงาน เขาก็จะทึ่งในสภาพที่เราเป็นอยู่ พูดอย่างนี้ไม่ได้แปลว่าเราดีทุกอย่างนะครับ แต่มันดีกว่าโดยเฉลี่ยทั่ว ๆ ไปอย่างไม่น่าเชื่อ เหตุที่เป็นอย่างนี้ได้ ถาตอบคําเดียวว่าเป็นเพราะอะไร คําตอบคือความต่อเนื่อง คํานี้เป็น keyword (คําสําคัญ) นะครับ ความต่อเนื่อง ทําเรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถาจะตีเป็นความคิดก็คงได้เหมือนกัน คือ เป็นการคิดทําเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างต่อเนื่อง ไม่ละทิ้ง ต่อเนื่องในที่นี้ไม่ได้แปลว่าเหมือนเดิมนะครับ ความต่อเนื่องไม่ใชเรื่องที่เหมือนเดิม แต่จะมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ เราคงเห็นว่าเวลาเดินไปเรื่อย ๆ ก็จะมีคนที่เข้ามา เป็นผูนํา ผูบริหาร เข้ามาทํางาน ซึ่งแต่ละคนก็จะมีจริต มีสไตล มีวิธีการทํางานที่ไม่เหมือนกัน แต่มีความต่อเนื่องในหลักใหญ่ ๆ เหมือนกัน อันนี้คือคุณค่าสูงสุดที่คณะแพทยเรามีนะครับ แล้วเราก็อยู่ใน สภาพที่เรียกว่ามีทุนทางสังคมสูงมากในขณะนี้ นี่เป็นภาษาของพวกนักสังคมศาสตร์ครับ

 

ทุนทางสังคม

เวลาคนพูดถึงเรื่องทุนทางสังคม จะมีความหมายหลายอย่าง แต่ว่าในหนวยงานหนึ่งๆ ก็จะมีทุนทางสังคมอยู่ดวย บางหน่วยงานทุนทางสังคมติดลบ คือคนในหน่วยงานทะเลาะกัน คนแตกแยกกัน ตอนผมเป็นรองอธิการบดี ก็ต้องไปสอบสวนบางคณะเนื่องจากมีความลึกลับดํามืดในการบริหารงานบางเรื่อง เมื่อเข้าไปสอบสวนแล้วผมตกใจมาก เพราะคนไม่ไวใจกันเลย ไม่กล้าพูดความจริง ถามีการทําผิดอะไร คนที่จะพูดก็กลัวอันตราย กลัวจะมีภัยต่อตัวเอง ก็ได้เห็นสภาพ วิธีคิด วิธีทํางานในหนวยงานต่าง ๆ ว่ามีต้นทุนทางสังคมแตกต่างกันเยอะมาก แต่คณะแพทยเราโชคดี ที่ช่วยกันสร้างสมทุนทางสังคมมาอย่างมากมายในวันนี้ ทุนทางสังคมในที่นี้หมาย ถึงวัฒนธรรมทางองคฺ์กรที่คนชวยกันทํางาน ชวยกันคิด ชวยกันสร้างสรรคฺ์สิ่งใหม ๆ ชวยกันขวนขวายหาความรู้ หรือวิธีการใหม ๆ มาใช้ เพื่อชวยให้หนวยงานได้ทํางานหลักให้ดียิ่งขึ้นเรื่อย ๆ งานหลักของคณะแพทยเราคือ งานสอน งานให้บริการ โดยเฉพาะโรงพยาบาล งานวิจัยสร้างความรู้ใหม ซึ่งเกี่ยวข้องกับระบบสาธารณสุขของประเทศ บางเรื่องอาจจะเป็นความรู้ใหมของโลก และก็เรื่องของคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรมและศิลปะ ซึ่งมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มักจะเรียกว่า ศิลปวัฒนธรรมและตีความว่า คือการ รองรําทําเพลง ตักบาตร เป็นต้น ซึ่งไม่ผิดแต่มันนอยเกิน มันควรจะใหญ่กว่านั้นเยอะในเรื่องของศิลปวัฒนธรรม เพราะฉะนั้น การที่คณะแพทยเรามีวัฒนธรรมองคฺ์กรในการทํางานที่เน้นคุณภาพ และเนนความพึงพอใจของผูใช้บริการ นี่คือ วัฒนธรรมองคฺ์กรที่ยิ่งใหญ่ การที่เรามีวัฒนธรรมในการทํางานร่วมกันเป็นทีม ชวยกันคิดชวยกันทํา อันนี้เป็นทุนทางสังคมที่ยิ่งใหญ่

 

ความคุ้มค่า

ผมมานั่งคิดดูว่า 'พัฒนาคนให้คุ้มค่า พัฒนาที่วิธีคิด' มันอาจจะต้องตีความ คําว่าคุ้มค่า หมายความว่าอย่างไร คุ้มค่าของใคร ถาความคุ้มค่าคือคุ้มค่าของทุกคน แล้วค่าของทุกคนอยู่ที่ไหน อยู่ที่ค่าของการเกิดมาเป็นคนหรืออยู่ที่ค่าของชีวิต แล้วชีวิตคุ้มค่าหรือเปลา คุ้มค่าแปลว่าอะไร ผมเองมองว่า ชีวิตที่คุ้มค่า คือชีวิตที่ได้ทําประโยชน์ให้สังคมสูงสุดเทาที่ขีดความสามารถของเราจะเอื้ออํานวย เพราะฉะนั้น องคฺ์กรที่ดีคือองคฺ์กรที่ช่วยสงเสริมให้แต่ละคนได้ใช้ชีวิตให้คุ้มค่า คณะแพทยเราพยายามพัฒนาระบบต่าง ๆ ก็เพื่อเป้าหมายอันนี้ คือทําให้คนได้มีโอกาสเติบโตและได้ทําอะไรตามที่ใฝ่ฝันอย่างคุ้มค่า เพราะฉะนั้นความคุ้มค่าคงมองได้หลายอย่าง มองที่ตัวคน มองที่ชีวิต มองที่การลงทุน เพื่อพัฒนาหนวยงาน การมองที่สังคมว่าสังคมลงทุนให้หน่วยงานของเราขนาดนี้ แล้วเราทํางานแคไหน เราทํางานให้กับสังคมแคไหน จะเห็นว่าการตีความ เรื่องเดียวมีได้หลายชั้น แต่ผมเชื่อว่าชั้นที่สําคัญที่สุดอยู่ที่แต่ละคน เป็นสําคัญ

 

หลายวิธีคิด

พูดถึงเรื่องวิธีคิด วันนี้ถาดูตามโปรแกรมการบรรยายก็จะมีการพูดถึงวิธีคิดทั้งหมดเลยนะครับ ซึ่งมีหลากหลาย โดยในชวงเช้าของวันนี้ก็จะมีการพูดถึงวิธีคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ดวย แต่ผมคิดว่ายังมีวิธีคิดอีก ขั้วหนึ่งคือ วิธีคิดเชิงอารมณ์ ซึ่งตรงข้ามกับวิธีคิดเชิงวิทยาศาสตร์หรือวิธีคิดที่ใช้เหตุผล ถามว่าทั้งสองอย่างนี้อันไหนดีกว่ากัน คําตอบคือว่าดีทั้งสองอย่าง หรือจริง ๆ แล้วก็คือไม่ครบทั้งสองอย่าง เวลาใช้ ต้องแล้วแต่บริบทและต้องใช้ทั้งสองอย่างให้สมดุลกัน วิธีคิดเชิงอารมณ์จะใช้มากในครอบครัว เพราะในครอบครัวถ้าใช้เหตุผลเป็นตัวตั้งมักจะทะเลาะกันเสมอ ผมเองเคยมีประสบการณ์สวนตัว เพราะตอนเราหนุม ๆ เราก็ไม่ชํานาญและแต่งงานเพียงครั้งเดียวเทานั้น ก็เลยใช้เหตุผล พบว่าทะเลาะกันแหลกเลย พอหันมาใช้อารมณ์ อารมณ์ในที่นี้หมายถึงความรัก ความปรารถนาที่จะอยู่ร่วมกัน สร้างสรรคฺ์ครอบครัว ทําประโยชน์ให้กับสังคม ในหน้าที่การงาน เพราะฉะนั้น ความคิดที่ตกลงกันไม่ได้ก็ไม่ต้องตกลง ทิ้งความแตกต่างทางความคิดเอาไว แล้วก็ตั้งหน้าตั้งตาทําสิ่งที่ positive (เป็นบวก) โดย ความแตกต่างก็ยังคงอยู่แต่จะไม่มาทําให้เราเสียอารมณ์ เพราะฉะนั้นความแตกต่างก็ไม่ได้เสียหาย เดี๋ยวผมจะชี้ให้เห็นว่าความแตกต่างมีคุณค่าอย่างสูงนะครับ

อีกอย่างหนึ่งของวิธีคิดก็คือวิธีคิดแบบขาว - ดํา หรือคิดแบบ 2 ขั้ว ที่ตรงขามกับวิธีคิดที่เรียกว่า holistic คือคลุมทั้งขาวและดํา ให้เห็นว่าทุกอย่างมีทั้งขาวทั้งดําและเทา มีสูงมีต่ำ มีเหนือมีใต นั่นคือธรรมชาติ คือ holistic คือความเป็นทั้งหมด ไม่มีอะไรดีกว่าอะไรทุกเรื่องในทุกดาน แต่มันดีในบางบริบท ถาเรามองได้เฉพาะดํากับขาว เราจะคิดเรื่องที่ซับซ้อนได้ยาก เรื่องซับซ้อนใช้วิธีคิดแบบดํา - ขาว แบบขั้วตรงข้ามไม่ได้ นอกจากนั้นก็ยังมีวิธีคิดแบบ static (หยุดนิ่ง) คือ คิดแบบหยุดนิ่งอยู่กับที่ มองอะไรก็เหมือนเดิม อย่างถาผมเป็นคนที่คิดเหมือนเดิม ผมก็จะคิดเหมือนตอนที่เป็นคณบดี ซึ่งมันเป็นไปไม่ได้ เพราะ โลกมันเคลื่อนไปแล้ว นั่นก็เป็นวิธีมองแบบ static ซึ่งจะตรงกันขามกับวิธีคิดแบบ dynamic (พลวัต) ถามว่าอะไรดีกว่าอะไร ตอบว่ามันต้องใช้ทั้งสองอย่าง นอกจากนี้ยังมีวิธีคิดยอนหลัง กับวิธีคิดไปขางหน้า คิดยอนหลังเป็นเชิงประวัติศาสตร์มีประโยชน์ในการทําให้เข้าใจบริบท แต่ถาคิดได้แต่ยอนหลัง คิดไปขางหน้าไม่เป็นก็แย โลกก็ไม่เจริญ วิธีคิดอีกคูหนึ่งก็คือคิดแบบ absolute (สัมบูรณ์) คูกับ คิดแบบสัมพัทธ์หรือเปรียบเทียบ ถาใครคิดแบบสัมบูรณ์ คือจะดีได้ต้องเป็นอย่างนี้ จึงจะถือว่าดีที่สุด สัมบูรณ์ เราก็จะทุกข์มากเพราะมันไม่ถึงสักที อย่างเชนใครมีสามีแล้วคิดถึงสามีแบบสัมบูรณ์ เราก็จะทุกขมาก เราต้องคิดแบบสัมพัทธ์ว่าเขาก็ดีที่ไม่เจาชู้

 

หลักวิธีคิด

ยังมีวิธีคิดอีกหลายแบบเชน คิดเชิงบวก คิดเชิงลบ คิดเอาวิกฤตเป็นโอกาส แต่นั่นผมจะไม่พูด สิ่งที่ผมจะพูดในวันนี้คือ 'หลักวิธีคิด' คือให้คิดแบบเชื่อมโยง อยาคิดแบบยึดติด โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับ ตัวเรา หนวยเรา คณะเรา มหาวิทยาลัยเรา หรือครอบครัวเรา และหยุดอยู่แคนั้น ที่จริงคือต้องยึดไม่ใชไม่ยึดครับ แต่ยึดแล้วอยาติด จะต้องหาทางโยงไปสูอะไรที่ใหญ่กว่านั้น ซึ่งการโยงก็จะมีหลากหลายนะครับ การโยงที่ในสายตาผมคิดว่ามีค่ามากที่สุด คือการคิดโยงกับปฏิบัติ คิดเฉย ๆ พลังนอย คุณค่านอย และมีแนวโนมจะหยุดนิ่งอยู่กับที่ ถาคิดอยู่เฉย ๆ ก็คือแผนเสียงตกรอง คือคิดอย่างไรก็วนมาที่เดิม เพราะฉะนั้น วิธีการหนีไม่ให้ตกรองก็คือการปฏิบัติ พอทําจริงจะทําให้เราเห็นว่า ที่เราคิดบางอย่างมันผิด ไม่จริง ไม่ตรง หรือไม่ผิดแต่ไม่ครบ พอได้ทําจะทําให้เราเข้าใจอะไรได้มากขึ้น เพราะ ฉะนั้นวิธีคิดเมื่อคูกับปฏิบัติแล้ว เราจะเห็นสัจจธรรมอย่างหนึ่งที่ สําคัญยิ่ง ก็คือเราไม่ได้คิดอย่างครบถวนเลยไม่ว่าเรื่องใด เราไม่มีความสามารถที่จะคิดให้ครบถวนหรือถูกต้องแบบสัมบูรณ์ได้เลย ที่พูดนี่ผมพูดจากใจนะครับ และได้พูดกับคนในครอบครัวดวย ซึ่งหมายความว่าเราผ่านทุกขยากมาดวยกัน และความสําเร็จมาดวยกัน พูดแล้วมันมีสิ่งที่ซอนอยู่ขางในเยอะ และหวังว่าพูดแล้วจะเข้าใจ เพราะเราเคยผ่านประสบการณ์นั้นมาดวยกัน

 

 

ไปพูดที่อื่น ผมพูดอย่างนี้ไม่ได้ พวกเขาจะไม่เข้าใจ เพราะไม่มีสิ่งที่ เรียกว่า tacit knowledge (ความรู้ฝงลึก) ร่วมกัน หรือไม่มีความหลังร่วมกัน ไม่มีประวัติศาสตร์ร่วมกัน เวลาพูดต้องอธิบายเยอะ หลักที่สําคัญก็คือการปฏิบัตินั้นจะช่วยให้เราคิดขยายและโยงต่อไปได้อีก และชวยบอกให้เรารู้ว่าความคิดที่เรามีกอนการปฏิบัตินั้นมันไม่ครบ การที่ทําให้เราเข้าใจถึงคําว่าไม่สัมบูรณ์ของตัวเรานั้นมีค่ามาก เพราะจะทําให้เราเป็นคนที่เปดรับต่อการเรียนรู้ ขณะเดียวกันก็ทําให้เราออนนอมถอมตัวว่าเราไม่ใช่ผู้รู้เจนจบ อาจจะมีคนที่อายุนอยกว่าเรา เด็กกว่าเรา ประสบการณ์ในการทํางานนอยกว่าเรา แต่เขาอาจจะมีวิธีคิดที่ช่วยทําให้เราสามารถคิดทําอะไรในลักษณะใหม ๆ รูปแบบใหม ๆ ได้เพิ่มขึ้นอีก เพราะฉะนั้น ความออนนอมถอมตนในเรื่องของวิธีคิดก็เป็นเรื่องสําคัญ เหมือนกับเป็นแก้วน้ำที่น้ำยังไม่เต็ม

 

Dialogue กับ Discussion

หลักคิดอีกอย่างเพื่อให้เชื่อมโยงคือการชวยกันคิด แลกเปลี่ยนความคิดกัน การที่มีหลายคนมาชวยกันคิด แล้วก็มีทักษะวิธีการแลกเปลี่ยนความคิดกันได้ ทักษะอย่างนี้ภาษาทางดาน learning organization (องคฺ์กรแหงการเรียนรู้) เรียกว่า dialogue ซึ่งตรงกันขามกับ คําว่า discussion

Dialogue แปลว่าเวลายกความคิดอะไรขึ้นมาก็ยกแบบสมมติ ไม่ยืนยันว่าถูกต้องหรือจริงหรือเปลา แล้วลองเอาขอสมมติมาแลกเปลี่ยนกัน ทําให้เกิดสมมติใหม เกิดความคิดใหมที่ดีกว่าเดิม คนจะไม่ทะเลาะกันเพราะยกขึ้นมาเป็นสมมติทั้งนั้น ไม่ถือว่าเป็นสัจธรรม แต่ถาเป็น discussion นั้น เมื่อยกมาแล้วจะต้องเลือก ว่าเอา 1 หรือ 2 หรือ 3 ถา dialogue ยกขึ้นมากี่อันก็ไม่เอาสักอัน แต่อาจเอามาหลอมรวมกันกลายเป็นของใหมที่ดีกว่าเดิมมาก ในมหาวิทยาลัย โดยทั่วไปจะชํานาญเรื่อง discussion ไม่เข้าใจ dialogue แต่ในทางบริหารจัดการ เพื่อให้การทํางานดีขึ้นกว่าเดิมหรือทํางานเพื่อคุณภาพนั้น จะต้องการทักษะดาน dialogue ที่สําคัญอย่างมาก คือการร่วมกันคิดและปฏิบัติ ไม่ใชคิดเฉย ๆ ต้องปฏิบัติร่วมกันดวย สิ่งที่เกิดคือทุกคนได้ประสบการณ์ ประสบการณ์ที่แต่ละคนเผชิญมานั้นเกือบเหมือนกัน และความคิดที่เกิดขึ้นในสมองของแต่ละคนนั้น เหมือนกันก็เยอะไม่เหมือนกันก็เยอะ แสดงให้เห็นว่าการปฏิบัตินั้น ทําให้เกิดความคิดไม่เหมือนกัน และถานํามาแลกเปลี่ยน dialogue กัน ความรู้ก็จะยิ่งงอกเงยต่อไปอีก นี่คือเครื่องมือของการร่วมกันคิดและร่วมกันปฏิบัติ

ในการที่จะเข้าใจเรื่องต่าง ๆ ได้รอบดานและลึกซึ้งนั้น ต้องการประสบการณ์ที่หลากหลาย ต้องการบริบทที่แตกต่าง เพราะเวลาเกิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งไม่ได้เกิดขึ้นลอย ๆ ในสุญญากาศ ไม่ว่าเรื่องใดที่เราพูดถึง ก็จะเกิดขึ้นภายใตสภาพแวดลอมหรือที่เราเรียกว่าบริบท เมื่อเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นในต่างบริบท ความรู้ที่เกิดขึ้นจะไม่เหมือนกัน เมื่อนํามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ความรู้ก็จะยิ่งแตกฉาน หลักสําคัญก็คือ อยาติดกรอบ ไม่ว่ากรอบของทฤษฎีใดก็อยาไปติด แต่ทฤษฎีต้องมี และถาจะให้ดีอาจต้องใช้หลายทฤษฎีในต่างเหตุการณ์ ต่างสถานการณ์ ซึ่งสามารถเขียนได้ดังภาพขางลางนี้ ภาพนี้พยายามบอกว่าให้โยงออกไปข้างนอก อยาคิดวนเวียนอยู่เฉพาะขางในเทานั้น ซึ่งลูกศรที่เป็นสองทาง คือรับขางนอกดวย เป็นการแลกเปลี่ยนสองทาง คือการรับรู้และเรียนรู้จากภายนอก รวมทั้งการรับรู้และเรียนรู้จากภายใน

อีกตัวอย่างหนึ่งซึ่งเป็นตัวชวยในการคิดแบบเชื่อมโยง ก็คือการคิดภายใตสมมติฐานว่าเรื่องต่าง ๆ เป็นเรื่องที่ซับซ้อน ไม่ใชเรื่องที่ทําความเข้าใจแบบชั้นเดียวหรือแบบความสัมพันธ์เชิงเดี่ยวได้ เป็นเรื่องที่เกี่ยวของกับปจจัยต่าง ๆ ที่หลากหลายมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทํางานเรื่องคุณภาพ มันเกี่ยวข้องกับใจคน นึกภาพว่าใจคนมันซับซ้อนยุงยากแคไหน ขณะนี้วิธีคิดเรื่องการจัดการ เรื่องการเรียนรู้เรื่องการดํารงชีวิต มันกาวเข้าสูยุคความเชื่อพื้นฐานที่ใช้กันอยู่คือ สังคมเป็น complex adaptive system (ระบบที่ซับซ้อนและปรับตัว) สังคม, องคฺ์กร, กลุมคน, ครอบ ครัว, แม้กระทั่งตัวเรา เป็น complex adaptive system หมายความว่ามันไม่ขึ้นอยู่กับกฎ cause and effect (เหตุและผล) แบบ linear (เสนตรง) คือถาทําแบบนี้ผลต้องเป็นแบบนี้ ถาทําอย่างนั้นผลต้องเป็นอย่างนั้น ซึ่งไม่ใช ความทุกขยากของคนในหลาย ๆ ครั้งไม่ได้เกิดจากตัวเองทํา ที่บอกว่าคนทํากรรมใดก็ได้กรรมนั้นตามสนอง มันถูกในบริบทหนึ่ง แต่บางบริบทก็ไม่ใช กรรมของคนอื่นแต่กลับทําให้เราเดือดรอนก็มี เชน เราขับรถอยู่ดี ๆ แต่มีคนอื่นขับขามฟากมาจากอีกดานหนึ่งมาชนเราเข้า ไม่ใชกรรมของเราเลย กรรมของคนอื่นแท ๆ

กรณีของโรคซารส(Sars) ก็เชนกัน เรื่องเกิดจากคนจีน แต่ก็กระทบมาถึงประเทศไทย ทําให้เศรษฐกิจซึ่งขึ้นอยู่กับการท่องเที่ยวมากก็เกิดความเดือดรอน เกิดความปนปวนจากโรคซารส กรณีสงครามอิรักก็เชนกันเราก็ไม่เกี่ยว ไม่ได้ไปยุงอะไร แต่ก็พลอยเดือดรอนไปดวย ทําให้ต้องยกเลิกการประชุมหลายแหงในเมืองไทย ความจริงประเทศไทยเป็นแหลงที่เขาชอบมาประชุม นานาชาติกัน แต่เมื่อเกิดทั้งสงครามอิรัก ทั้งซารส ก็ถูกยกเลิกหมด

เรื่องของระบบที่ซับซ้อนและปรับตัวก็คือ เรื่องของ cause - effect relationship (ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล) ซึ่งมีทั้งที่เป็น linear (เสนตรง) และ direct (โดยตรง) จุดที่สําคัญอีกอย่างหนึ่งคือความสัมพันธ์ของแต่ละชิ้นสวน ชิ้นสวนคือ part เมื่อพูดถึง organization (องคฺ์กร) แต่ละองคฺ์กรก็จะมีคน อย่างคณะแพทยมีคน 3,000 คน ถาเราต้องการบริหารแบบ complex adaptive system โดยใช้พลังของมัน สิ่งที่เราต้องฝึกและดําเนินการใช้ให้ได้คือพลัง ไม่ใชแคพลังของแต่ละคน แต่เป็นพลังความสัมพันธ์ระหว่างคน ต้องไปใช้พลังที่เป็นชองว่าง ที่ไม่ได้เป็นวัตถุ เรียกว่า ความสัมพันธ์ ซึ่งฝรั่งใช้คําว่า relationship เราเห็นใชไหมครับว่าในองคฺ์กรต่าง ๆ ในสภาพที่บรรยากาศการทํางานไม่ดี หนวยงานต่างหนวยงานมักจะขัดขากัน คอย แกลงคอยดึงเรื่องกัน หรือแม้กระทั่งในหนวยงานเดียวกัน คนที่ไม่ชอบกัน ไม่เข้าใจกัน ก็จะคอยขัดขากัน ถาอย่างนี้ 1 + 1 ก็อาจจะเป็น 0.5 นั่นคือพลังที่เกิดจากความสัมพันธ์ลดลง แต่ถาความสัมพันธ์ที่ดีมันกอให้เกิดพลังมากกว่าพลังที่เป็นผลบวกของแต่ละคน ออกมาเป็นผลคูณ ฝรั่งเรียกว่า synergy การทํางานที่รวมพลังกันจะออกมาในรูป new order เป็นการทํางานแบบใหม เป็นความสามารถแบบใหม ซึ่งผมคิดว่าที่คณะแพทยเรา เกิดตรงนี้ลึกซึ้งมาก ถาเราเห็นเรื่อง relationship (ความสัมพันธ์) สําคัญกว่า parts (ชิ้นสวน) ในการทํางาน เราจะพยายามสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหนวยงาน ระหว่างคน เพื่อสร้างพลังทวีคูณ และตรงกันขาม ถาเราไม่เข้าใจ คน 3,000 คน ที่มีอยู่ก็อาจจะเท่ากับคน 1,000 คน ทานอาจารยเกษม สุวรรณกุล ทานชอบพูดอยู่เรื่อยว่า ในบางมหาวิทยาลัยนั้นถาไลคนออก เสีย 2 ใน 3 (หมายถึงคนไม่ดี) ก็ยังทํางานได้เทาเดิม

ในการคิดแบบซับซ้อนนั้น คนที่อยู่ภายในองคฺ์กร จะต้องพยายามคิดคํานึง ตระหนัก และเห็นภาพรวมทั้งหมด ซึ่งตรงนี้ก็สําคัญ เวลาทํางาน ผมจะสังเกตดูเป้าหมายขององคฺ์กร ถาไม่ระวังจะมีคนเข้าใจอยู่เพียงไม่กี่คน อาจจะเป็นผูบริหาร 5 คน 10 คน ทําให้ไม่เห็นภาพรวมทั้งหมด การทํางานที่จะทําให้มีคุณภาพสูงสงนั้น จะต้องหาวิธีการให้ทุกคนเห็นภาพรวมขององคฺ์กร เห็นสภาพขององค์กรโดยรวมที่กําลังเผชิญอยู่ให้ได้ รูปขางลางนี้ต้องการอธิบายเป็นภาพจาก ที่พูดมาทั้งหมด คือให้เปลี่ยนมุมมองแบบเสนตรง ไปสูมุมมองแบบเป็นวงจร มุมมองแบบเสนตรงก็คือลูกศรทางดานซายมือ จากจุดหนึ่งไปสูอีกจุด หนึ่ง แต่ทางขวามือเป็นวงจร

 

 

การโฟกัสและซูมความคิด

เรื่องความคิดที่สําคัญอีกเรื่องหนึ่งก็คือการโฟกัส (focus) และ ซูม (zoom) ความคิด ต้องไปจับตรงไหน ระดับไหน ความละเอียดมีแคไหน ระดับการมองภาพใหญ่แคไหน ต้องซูมเข้าซูมออกเป็นและโฟกัสได้ การโฟกัสความคิดเป็นเรื่องใหญ่มาก ผมเองก็ไม่เข้าใจ จนกระทั่งไปทําเรื่อง ปริญญาเอกกาญจนาภิเษก เมื่อ 7 ปที่แล้ว เราไปคนเอกสารฝรั่งเรื่องการศึกษาปริญญาเอก พบคําว่า mentoring ซึ่งเขียนไวทําให้เข้าใจ ว่า การเรียนปริญญาเอกโดยให้ทําวิทยานิพนธ์นั้น เป็นการฝึกความคิดเพื่อจะให้หมกมุ่นอยู่เพียงเรื่องเดียวคือเรื่องการทําวิทยานิพนธ์ของตัวเอง เป็นเวลา 4 ป เขาบอกว่าคนที่ฝึกให้จิตหมกมุ่นอยู่กับเรื่องเดียวได้เชนนี้ เป็นทักษะที่ยิ่งใหญ่ เป็นการฝึกให้สมาธิยาว ซึ่งจะเห็นได้ว่าคนที่ทําอะไรดี ๆ มักจะมีสมาธิยาวทั้งนั้น ภาษาสุนัขเขา เรียกว่ากัดไม่ปลอย คือทําเรื่องใดเรื่องหนึ่งแล้วไม่ละทิ้ง

การซูมความคิดจึงเป็นเรื่องของการคิดสองแบบ คือ คิดแบบตานก กับ คิดแบบตาหนอน ตานกคือการบินขึ้นไปสูง ๆ แล้วเห็นภาพรวมทั้งหมด คือเห็นป่าทั้งป่า ตาหนอนก็คือหนอนเกาะที่ใบไมก็ จะเห็นเฉพาะใบ มองไม่เห็นทั้งต้น เห็นแต่รายละเอียด คนเราจึงต้องการความคิดทั้งสองอย่าง คือ มองภาพใหญ่และมองรายละเอียด ต้องฝึกให้เป็น คนไหนมองภาพใหญ่แล้วไม่เห็นรายละเอียดก็อาจจะหลง คนไหนเห็นรายละเอียดแต่ก็ไม่เห็นภาพใหญ่ก็ทํางานใหญ่ไม่ได้ แต่ที่รายที่สุดก็คือ รายละ เอียดก็ไม่เห็น ภาพใหญ่ก็ไม่เห็น กลายเป็นความคิดบอด

การฝึกให้เห็นภาพความเป็นจริง เห็นภาพปจจุบัน จึง เป็นเรื่องใหญ่มาก และฝึกให้เห็นว่าเดินมาไกลแคไหนแล้ว ยกตัวอย่างพวกเรา ซึ่งอยู่ในคณะแพทยมา 20 ป ถามว่าภาพคณะแพทยเดินมาจากที่ไหนอยางไร จะมองไม่คอยออก เพราะคนที่อยู่มานานมักจะมองตัวเองไม่เห็น ต้องใช้วิธีไปถามคนอื่น ตอนผมทํางานอยู่ที่ สกว. (สํานักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย) นั้น และเกือบจะครบวาระผูอํานวยการ สกว. แล้ว ได้ตรวจสอบภาพของ สกว. โดยถามผูใหญ่ที่เป็นกรรมการ สกว. ตั้งแต่ปแรก ๆ ว่า ทานอยากเห็น สกว. เป็นอย่างไร แล้วจริง ๆ ตอนนี้เป็นอย่างไร เหมือนกับที่คิดไวหรือไม่ พยายามที่จะตรวจสอบจากคนอื่น เพื่อให้เราเห็นภาพในปจจุบันชัดขึ้น เพราะหลาย ๆ อย่างมันเป็นภาพ abstract (เชิงนามธรรม) ไม่ได้เป็นภาพเชิงรูปธรรม ต้องอาศัยมุมมองของคนหลาย ๆ คน เป็นธรรมชาติของคนที่จะเข้าขางตัวเองมองตัวเองทีไรก็จะดีทุกที ต้องไปถามคนอื่น ๆ ดังนั้นเราต้องนิยามคําว่าคุณภาพโดยใช้คนอื่น ๆ เป็นหลัก ต้องเป็นคุณภาพตามความพึงพอใจของลูกคาหรือผูใช้บริการ นี่คือ คําที่เราต้องทองให้ขึ้นใจ และเลาให้ใครฟงได้ เพราะนี่คือ keyword (คําสําคัญ) ของขบวนการคุณภาพ

 

จินตนาการและความมุ่งมั่น

อีกเรื่องหนึ่งของความคิดคือจินตนาการ ว่าเราอยากเห็นภาพที่ดีที่เราใฝฝนเป็นอย่างไร ความสามารถในการจินตนาการและจินตนาการบอย ๆ นั้น มันทําให้เกิดพลังที่ไม่ต้องลงทุน เป็นพลังที่เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ เพื่อผลักดันเรื่องที่ยากต่าง ๆ ให้เดินไปได้ ถาจะให้ดีในองคฺ์กรที่มีคนประมาณ 3,000 คน อย่างคณะแพทย์ต้องสร้างจินตนาการร่วม คือมีปณิธานความมุ่งมั่นร่วมกัน เป็นปณิธานความมุ่งมั่นภาพรวมขององคฺ์กร แล้วแต่ละหนวยงานก็ตีความแจงออกมาเป็นของหน่วยงานเอง และแต่ละคนก็ตีความเป็นของตัวเอง เพราะฉะนั้น ทุกคนจะผลักไปทางเดียวกันหมด พลังจะสูงสงมาก ปญหาในสังคมและองคฺ์กรทั้ง หลายคือพลังไปคนละทาง vector ไม่ไปทางเดียวกัน การที่จะทําให้ vector ไปทางเดียวกันจะต้องใช้พลังของความมุ่งมั่นหรือปณิธานความมุ่งมั่น (purpose) ร่วมกัน ซึ่งในการจัดการสมัยใหมมีคนบอกว่า การจัดการที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เป็นหัวใจของผูบริหารระดับซีอีโอ (CEO) คือการจัดการเรื่องความมุ่งมั่น

เวลานี้ เชาขึ้นมาผมถึงสํานักงาน 6 โมงครึ่ง มีลูกนองนั่งอยู่แล้วเพราะ เขามาแต่ 6 โมง สิ่งที่ผมทําอยู่ทุกวันคือ manage purpose หรือบริหารจัดการความมุ่งมั่น โดยชวนเขาพูดคุย ซักถาม เพื่อที่จะทําให้แต่ละคนเห็นว่าผมกําลังหนุนให้เขาทํางานที่เขาต้องการให้ประสบผลสําเร็จในงานของเขาเอง ในการซูมความคิดอย่างหนึ่งเพื่อให้ความคิดมันเคลียร นอกจากซูมลงไปเพื่อให้เห็นภาพที่เราต้องการแล้วนั้น ก็ต้องซูมให้เห็นสิ่งที่เราไม่อยากได้ดวย และถามตัวเองว่าที่ทํานั้น ไปทางไหน และผมก็จะใช้ dialogue สําหรับคนที่ทํางานกับผม พฤติกรรมบางอย่างเวลาเราทํางาน เราบอกว่าเราเดินทางนี้ แต่คนมองว่าเราเดินอีกทางหนึ่ง อย่างนี้ก็ผิด ดังนั้น เวลาทํางานเราต้องคิดตลอดเวลา ว่าเรามีความมุ่งมั่นที่จะทําอย่างนี้ แล้วพอทําเข้าจริงจะไปทางไหนแน หลายครั้งที่เราบอกว่าทําเพื่อหน่วยงาน แต่ในความเป็นจริงเป็นการทําเพื่อประโยชน์สวนตัว เพื่อให้ได้เงิน และ ชื่อเสียงหรือได้อะไรบางอย่าง เราต้องถามตัวเองว่าเราทําไปตรงทางหรือเปลา

ระบบที่ซับซ้อนและปรับตัว เป็นระบบที่มีทั้งความไรระเบียบและความเป็นระเบียบ อยู่ดวยกัน ที่เรียกว่า chaordic สิ่งเดียวกันนั้นเป็นทั้งความไรระเบียบและความมีระเบียบ อยาลืมนะคนจะตีความ 2 แบบ ใน complex adaptive system ถาเราเข้าไปมีมุมมองที่ดี มีวิธีการเข้าไปกระตุนที่ดี มีทีมที่เข้าไปทําให้เกิดสิ่งที่เรียก ว่า interaction (ปฏิสัมพันธ์) อย่างเหมาะสม ก็จะผลักดันให้เข้าไป สู new order (ระเบียบใหม) ซึ่งมีพลังอย่างสูงมาก อาจจะเป็น new order เล็ก ๆ หรือ new order ใหญ่ ๆ ก็ได้ อย่างผมจากคณะแพทยที่นี่ไปนานแล้วก็หันมามองแบบคนนอก เห็นว่าสภาพจิตใจของคนในคณะแพทยขณะนี้อยู่ในสภาพที่เรียกว่าไม่กลัวการเปลี่ยนแปลง เห็นการเปลี่ยนแปลงหรือการปรับปรุงเป็นของธรรมดา ซึ่งสภาพอย่างนี้ในหนวยราชการทั่วไปมีไม่ถึง 10 % สภาพนี้เรียกว่า new order เมื่อตอนผมเป็นคณบดีเรายังไม่เกิดสภาพนี้

 

Continuous และ Discontinuous

ความคิดหรือความรู้สึกต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงว่าคอย ๆ เปลี่ยนไป (continuous change) หรือเปลี่ยนแปลงแบบไม่ต่อเนื่อง มีสภาพใหมเกิดขึ้น (discontinuous change) ขึ้นอยู่กับวิธีคิด จะเห็นว่าถาเราไปอานหนังสือของฝรั่งที่เขาพูด ถึง First Wave, Second Wave, Third Wave(คลื่นลูกที่ 1, ลูกที่ 2, ลูกที่ 3) ซึ่งมัน continuous (ต่อเนื่อง) แต่ถาดูให้เป็นจะเห็นว่า discontinuous (ไม่ต่อเนื่อง) ไม่ได้เป็นคลื่นจริง ๆ อยู่ที่ว่าเราใช้วิธีคิดแบบไหนจับ เราก็จะเห็นเป็น discontinuous

ในระบบที่ซับซ้อนปรับตัว ที่บอกว่าเกิด new order นั้นไม่มีใครสร้างขึ้นได้นะครับ มันเกิดขึ้นเอง แต่ถาเราไม่ชวยกันผลัก ไม่มีกระบวนการที่ทําร่วมกัน new order ก็ไม่เกิด เพราะฉะนั้นสภาพของหนวยงาน สภาพของระบบต่าง ๆ ที่ซับซ้อนและปรับตัวนั้นมันไม่แนนอน ก็เหมือนกับที่บอกไวตอนต้นว่าเมื่อเราเริ่มทํากระบวนการคุณภาพ เราบอกว่าต้องการใช้งานเป็นเครื่องมือพัฒนาคน แล้วงานนั้นเราจับที่ตัวคุณภาพ ประสิทธิภาพ ผลที่ต้องการคืองานดีขึ้น และคนได้รับการพัฒนาขึ้น เมื่อตอนนั้นเราไม่มั่นใจหรอก มี uncertainty (ความไม่แนนอน) สูงมาก ว่าจะต่อเนื่องได้อย่างไร เนื่องจากคณบดีก็เปลี่ยน เพราะฉะนั้น uncertainty เป็นของธรรมดาคือสัจธรรม

 

ปรากฎการณ์ผีเสื้อกระพือปก (Butterfly effect)

Butterfly effect หมายความว่าใส input (ปจจัยนําเข้า) นอยแต่เกิดผลมหาศาลซึ่งตรงข้ามกับสิ่งที่เราคุนเคยคือการใส input เยอะแต่เกิดผลนอย ขาราชการโดยทั่วไปมักเป็นอย่างนั้น แต่ในสภาพที่ซับซ้อนและปรับตัว เราสามารถทําให้อยู่ในสภาพที่ใส input นอยแต่เกิด output (ผลผลิต) เยอะได้ Butterfly effect หมายถึงผีเสื้อกระพือปกเกิดลมเพียงนิดเดียว แต่เป็นเพราะมีลมและปจจัย อื่นๆ มาสงเสริม ทําให้มีผลไปถึงอีกฝงหนึ่งของมหาสมุทรที่อยู่หางกันหลายพันไมลจนเกิดลมสลาตัน นี่คือคําอธิบายว่า Butterfly effect เป็นตัวบอกให้รู้เรื่องของระบบที่ซับซ้อนและปรับตัวว่าพลังไม่ได้อยู่เฉพาะตรงที่เราเป็นผูทํา พลังอยู่ที่อื่นดวย พลังที่ก่อให้เกิด new order หรือ new paradigm (กระบวนทัศน์ใหม) มันอยู่ที่อื่นดวย มันเข้ามาผสมผสานกัน โดยที่สวนใหญ่เราก็ไม่ได้มีอํานาจเหนือแต่มันเข้ามาเอง จากประสบการณ์ตรงของผมเมื่อ ตอนไปทํา สกว. ความสําเร็จของ สกว. ผมก็ตีความเข้าขางตัวเองเล็กนอย ว่ามันเกิดผลเชิง new paradigm ของวงการวิจัย ที่จริงเกือบจะล้มเหลวหลายครั้ง แต่มีพลังภายนอกที่เขารู้ว่าเรากําลังทําเรื่องที่ยิ่งใหญ่ให้แก่บ้านเมือง เขาก็เข้ามาค้ำจุน คนไม่รู้จักกันเลยเข้ามาชวย บางครั้งเกิดวิกฤต ก็มีคนเข้ามาชวย ทําให้สามารถทําในสิ่งที่ไม่คาดฝนได้ ไม่นึกว่าเราจะทําได้ แต่มันเกิดได้ นี่คือระบบที่ซับซ้อนและปรับตัวนะครับ

 

ขั้วตรงขาม (Paradox)

Paradox คือ ขั้วตรงขาม เราต้องรู้จักใช้พลังของขั้วตรงขามดวย ขั้วตรงขามเป็นความแตกต่างที่ตรงขามกัน เชน ดํา - ขาว, ดี - ชั่ว เราต้องใช้พลังของขั้วตรงขามให้เกิดประโยชน์ หลาย ๆ ครั้งขั้วตรงขามอาจจะเป็นขอคิดเห็นที่เรียกว่ามาจากคนละทฤษฎี ก็ต้องรู้จักใช้ขอคิดเห็นตรงกันขามนี้ให้เกิดประโยชน์ เป็นพลังบวกหรือพลังคูณ แทนที่จะเป็นพลังลบ ตรงนี้สําคัญมาก เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ที่ยิ่งใหญ่ เมื่อไรมีขั้วตรงขามอย่างนั้นตัวชวยจะมีเยอะมาก ตัวชวยที่สําคัญ คือการมองภาพใหญ่และการมองเป้าหมายร่วมกัน เพราะฉะนั้นคําว่าขั้วตรงขาม ไม่ได้หมายความว่าทํางานตรงขามกัน แต่เป็นการเอาไปผลักดัน ผลักดัน คนละแบบ แต่ไปทางเดียวกัน นี่คือวิธีใช้ขั้วตรงขาม หนวยงานที่ทํางานภายใตแนวคิดของระบบที่ซับซ้อนและปรับตัว จะรับสัญญาณจากภายนอกและภายใน รับรู้และเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา จุดที่สําคัญคือรับรู้และเรียนรู้ทุกระดับ ไม่ใชเฉพาะแต่ส่วนของสมอง เวลาทํางานในองคฺ์กรที่มีโครงสร้างซับซ้อน จะตรงข้ามกับองคฺ์กรที่เป็น hierarchy (ตามลําดับขั้น) คือนายคิดและนาย สั่ง นายรับรู้เรื่องต่าง ๆ แล้วสั่งให้ลูกนองทํา ลูกนองไม่ต้องคิด เพราะฉะนั้น สภาพที่ตรงกันขามกับแบบนั้นก็คือว่าทุกจุดรับรู้เรียนรู้ คนทํางานจะรับรู้เรียนรู้เพื่อมาปรับปรุงงานของเขาได้ตลอด นี่คือจุดสําคัญ คือสมองอยู่ได้ทุกจุด ภาษาฝรั่งเรียกว่า distributive brain ซึ่งถาเราไปดูในร่างกายเรา เราจะรู้ว่าจริง ๆ แล้วสมองของเราไม่ได้เป็น single brain คือถาอะไรก็ให้สมองสั่งการหมด เราจะอยู่ไม่ได้ เราหนีสัตว์รายไม ได้หรอก เราต้องสามารถทําอะไรภายใต reflex (รีเฟล็กซ) ได้ นั่นหมาย ถึงเราไม่ต้องใช้สมองสวนกลางเป็นตัวสั่งการ

 

สรุปเรื่องความคิด

สรุปอีกทีนะครับเรื่องความคิด หลักสําคัญที่สุดคือไม่ติดรูปแบบ เข้าใจวิธีคิดต่าง ๆ แต่ไม่ควรยึดติด และมีทักษะวิธีคิดที่หลากหลาย มีทักษะในการเลือกวิธี คิดให้เหมาะกับสถานการณ์ วิธีคิดวิธีเดียวอาจจะไม่พอต้องมีหลาย ๆ วิธี ซึ่งต้องการ dialogue กันอย่างมากมาย เพราะจะต้องตีความหลายประเด็น ลองมาดูวิธีคิดหลายแบบที่จะกลาวถึงต่อไป

 

 

วิธีคิดชนิดหมวก 6 ใบ

วิธีคิดแบบหนึ่งที่มีชื่อเสียงมาก คือวิธีคิดชนิด Six Thinking Hats (หมวก 6 ใบ) ของ Edward de Bono (เอดเวิรด เดอ โบโน) เป็นหนังสือที่ขายดีมาก พิมพไม่รู้กี่หน พิมพทีหนึ่งหน้าปกก็เปลี่ยนทีหนึ่ง วิธีคิดแบบนี้เป็นรูปธรรมของคํากลาวที่ว่า ในการทํางาน หรือว่าในคน ๆ หนึ่ง หรือคนกลุมหนึ่งนั้น ต้องการความคิดหลายแบบ Edward de Bono เป็นหมอซึ่งสนใจและหันมาศึกษาเรื่องการคิดหรือวิธีคิดและเขียนหนังสือไวเยอะมาก เป็นคนที่มีความสามารถสูง ขนาดที่ว่านั่งเครื่องบินจากลอนดอน ไปซิดนีย ใช้เวลา 20 กว่าชั่วโมง ระหว่างนั้นก็ใช้คอมพิวเตอรเล็ก ๆ เขียนหนังสือได้ 1 เลม

Six Thinking Hats เปรียบเสมือนการสวมหมวกความคิด 6 แบบ แล้วแต่จะเลือกว่าเมื่อไรจึงจะสวม หมวกแบบไหนดี ทําเป็นหมวก 6 สี แต่ละสีก็มีความหมาย เชน สีขาวหมายความว่าเป็นความคิดแบบไม่ใช้อารมณ์ และมีเป้าประสงคฺ์ที่ชัดเจน แนนอน ตรงไปตรงมา ถาสีแดงก็ ตรงกันขามคือใช้อารมณ์ ความคิดเชิงอารมณ์ เชน คิดว่าการคิดแบบนี้มันก็ได้แต่ประโยชน์เฉพาะคนรวยอะไรแบบนี้ เรียกว่าคิดเชิงอารมณ์มากไปหนอย เพราะขาดหมวกใบอื่น ๆ สีดําเป็นความคิดเชิงระมัดระวัง คือพอประชุมหรือพูดคุย คนที่สวมหมวกสีดําก็อาจมาเตือนว่ามันอาจจะเกิดผลเสียหายได้นะ สวนหมวกสีเหลือง de Bono ใช้คําว่า optimism มองเชิงบวก ขณะที่บางคนมองว่า สีเหลือง เหมือนไฟเหลือง ต้องระวังเตรียมหยุด สวนหมวกสีเขียวเป็น creativity ความคิดริเริ่มสร้างสรรคฺ์ เป็นความคิดใหม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ใครทราบไหมว่าแปลว่าอะไร ตามความคิดของผมแปลว่า ผิดมากกว่าถูก แปลว่าคิดมา 100 อย่าง ถาถูก 2 - 3 อย่าง ก็ถือว่าบุญแล้ว เยี่ยมแล้ว เพราะฉะนั้นความคิดริเริ่มสร้างสรรคฺ์เมื่อคิดแล้วอยาได้บุมบ่ามไปทําเต็มเหนี่ยวเลย จะต้องลองกอน แล้วสวนใหญ่จะใช้ไม่ได้ เลิกไป นี่คือหลักของการวิจัยนะ วิจัยและพัฒนาก็ใช้หลักอย่างนี้ ก็เหมือนการพัฒนายาของฝรั่ง เขาวิจัยจริง ๆ อาจจะสัก 100 ตัว และในที่สุดได้เป็นตัวยาจริง ๆ อาจจะตัวหรือสองตัว นี่คือหลักของ creativity ถาไม่คิดแบบนี้จะหาของใหมไม่เจอ มันตกรองเดิมอยู่เรื่อย สวนสีน้ำเงินก็ คือ กำหนดกฎ กติกา ตกลงกันว่าจะทําอย่างนี้ละนะ เหมือนกับว่าเรื่องนี้คุยกัน แลกเปลี่ยนกันมาเยอะแล้ว ถาหัวหน้าไม่เผด็จการก็จะพูดว่าสรุปอย่างนี้ตรงมั้ยกับที่เราพูดสรุปอย่างนี้พอไหวมั้ย แต่ถาหัวหน้าเป็นเผด็จการก็บอก เอาละนะ ผมจะเอาอย่างนี้

 

วิธีทําชนิดรองเทา 6 แบบ

Edward de Bono ได้เขียนหนังสืออีกเลมหนึ่ง ชื่อว่า Six Action Shoes (รองเทา 6 แบบ) แต่เลมนี้ไม่ดัง ขายไม่ดี คนไม่ค่อยพูดถึงเทาไหร คือว่าคิดเฉย ๆ ไม่ได้ ต้องทํา ต้องปฏิบัติดวย เพราะการคิดต้องโยงไปสูการกระทําได้ดวย หลักก็คือว่าการทําแบบ routine (เป็นประจํา) นั้น ไม่ใชของเลว จริง ๆ แล้วในการทํางานนั้น เราจะต้องสร้าง routine ใหมที่ดีกว่า routineเดิมอยู่เรื่อย แต่ไม่ใชทําลาย routine กลาวคือ routine ต้องมี แต่ต้อง improve (ดีขึ้น) ไปเรื่อย ๆ รองเทาอีกแบบ เป็น action ในลักษณะที่ว่า ลองหาเหตุ หาผล หาขอมูล อีกแบบก็เป็นการดําเนินการในลักษณะที่ว่า เอาเทาที่จะทําได้ อีกแบบก็คือแบบฉุกเฉิน มัวคิดอะไรอย่างพิถีพิถันมากไม่ได้ เดี๋ยวคนจะตาย ต้องทําเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในชวงเวลานั้นไวกอน อีกแบบเป็นการกระทําในลักษณะของการให้ความอบอุน ให้ความคุมครองดูแล เป็นการกระทํา เชิงอารมณ์ ความรัก ความเห็นอกเห็นใจ เป็นต้น อีกแบบหนึ่งคือการตัดสินใจในลักษณะที่ใช้ leadership (ความเป็นผูนํา) ใช้ความเสี่ยงความกลา ในชีวิตจริงต้องใช้หลาย ๆ แบบร่วมกัน

 

คิดอย่างครู ดูอย่างดาวินชี่

เมื่อต้นปผมไปอินเดีย เพราะทางองคฺ์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต ชวนให้ไปชวยกันคิด training modules (การฝึกอบรม) เรื่องการจัดการงานวิจัย โดยไปกับคุณหมอสมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ พอชวงว่างเราก็ไปดูหนังสือกัน ผมได้มาเลมหนึ่ง ดีจริง ๆ ชื่อหนังสือว่า ' How to think like Leonardo Da Vinci ? ' (คิดอย่างไรให้เหมือนลีโอนารโด ดาวินชี่?) ซึ่ง Da Vinci นั้นเป็นที่รู้กันว่าเขาเป็นอัจฉริยะ หลายดานมาก ทั้งดานศิลป และดานวิทยาศาสตร์ เขาบอกว่า ลีโอนาโด ดาวินชี่ไม่รู้หรอกว่าเขาคิดอย่างนี้ คนเขียนมาตีความเอาเองว่า เขามีวิธี คิด 7 แบบ แบบที่ 1 Curiosita หรือ Curiosity เป็นเรื่องของความใฝรู้ ขี้สงสัย อยากรู้ แบบที่ 2 Diminstrazione เป็นภาษา อิตาเลียน คือต้องเอาความรู้ หรือความคิดอันนั้น ไปทดสอบดูว่าจริงหรือเปลา ทดลอง ในนี้ใช้คําว่า experience แบบที่ 3 คือ Sensazione คือ ให้ฝึกผัสสะของตนเองให้แหลมคม อันนี้สําคัญมาก เพราะดาวินชีเห็นอะไรปุบ เขาเอามาเขียนได้ทันที เห็นรายละเอียดทันที แบบที่ 4 คือ Sfumato แปลว่า ' a willingness to embrace ambiguity' นี่คือโลกทัศน์แบบ complex adaptive system คือคิดแบบที่เรียกว่า เข้าใจและยอมรับความไม่ชัดเจน และยอมรับสภาพขั้วตรงขาม คนที่ไม่ยอมรับความไม่ชัดเจน จะไม่สามารถสร้างสรรคฺ์สิ่งใหมๆ ได้ เพราะเรื่องยาก ๆ จะเริ่มต้นดวยความไม่ชัดเจน ไม่แนนอน เพราะฉะนั้นจิตคนเราถาไม่ยอมรับความไม่แนนอน ก็จะไม่กลาทํา แบบที่ 5 คือ Arte/Scienza คือ เป็นความสมดุลระหว่าง logic กับ imagination ระหว่างความมีเหตุผลกับความมีจินตนาการ หรือว่าระหว่างเหตุผลกับศิลปะ แบบที่ 6 คือ Corporalita คําว่า corporal แปลว่า body คือต้องฝึกร่างกายให้แข็งแรง ให้ฟต และให้มีความสงาผาเผย และแบบสุดทาย คือ แบบที่ 7 Connessione คือ เห็นความเชื่อมโยงระหว่างสรรพสิ่งทั้งหลาย ถาในภาษา learning organization คือ systems thinking คือมีความคิดเชิงระบบ มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ประกอบกันเข้าเป็นระบบ

 

สรุปเรื่องวิธีคิดกับการพัฒนาคน

ขอที่หนึ่ง คิดให้เชื่อมโยงกับงาน อยาคิดลอย ๆ งานคือเครื่องมือที่จะทําให้ชีวิตเรามีเป้าหมาย ชีวิตมีสาระ คนจํานวนมากมีชีวิตอย่างลองลอย ไม่มีเป้าหมาย ไม่มีตัวยึด จึงทําให้ต้องไปหาเครื่องยึดคืออบายมุข ความจริงเครื่องยึดมี อยู่ 2 อย่าง คือ แบบที่เป็นทางไปสูความเจริญกับทางไปสูความเสื่อม ทางไปสูความเสื่อมคือ อบายมุข ทางไปสูความเจริญก็คืองาน และใช้งานเป็นเครื่องมือในการพัฒนาวิธีคิด พัฒนาความสามารถพัฒนาความเป็นมิตรภาพ ซึ่งผมเชื่อเป็นชีวิตจิตใจ ในขอนี้

ขอที่สอง คือการคิดแบบเปดรับและเรียนรู้ อันนี้ไม่ได้หมายความว่าเปดโลงโจง ต้องรู้จักที่จะกลั่นกรองดวย

ขอที่สาม คือไม่หยุดนิ่ง ทั้งการคิดการกระทําไม่ static (หยุดนิ่ง) แต่เป็น dynamic (พลวัต)

ขอที่สี่ คือ ฝึกที่จะคิดแบบซับซ้อน มองเรื่องต่าง ๆ ให้เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและปรับตัว และ

ขอที่หา คือ ใช้หลักการจัดการความรู้ซึ่งมีหลายอย่าง แต่ที่จะพูดอย่างเร็วที่สุดได้ก็คือ ว่า ในหลักของการจัดการความรู้นั้นจะต้องให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ (knowledge sharing) ซึ่งไม่ได้ทําให้ความรู้ของเราด้อยลงไป หรือสูญเสียความลับหรือเสียอํานาจ แต่กลับจะทําให้ความรู้ของเราเพิ่มขึ้น ความคิดของเรายิ่งแตกฉาน การแลกเปลี่ยนยิ่งทําให้เราได้ความรู้มากขึ้น เพราะเวลา discuss จะทําให้เราคิดอะไรออกได้อีก

จริง ๆ แล้ววันนี้ผมพูดไปเพียง 75 นาที แต่หวังว่าพวกเราคงจะได้ประโยชน์ในการกลับไปคิดต่อ ในเรื่องของความคิด ซึ่งไม่มีวันจบสิ้น คิดแบบไหน เราต้อง live and learn (อยู่และเรียน) และ do and learn (ทําและเรียน) ซึ่งการจะคุ้มค่าได้นั้นจะต้องเกิดจากการทําประโยชน์ให้แก่คนอื่น ทําประโยชน์ให้แก่สังคม ทําประโยชน์ให้แก่องคฺ์กร นี่คือ วิธีคิดที่มีประโยชน์สูงสุด คือ

 วิธีคิดเพื่อให้ ไม่ใชคิดเพื่อเอา เป็นวิธีคิดที่สูงสุดเหนือสิ่งอื่นใด ขอบคุณมากครับ

 

-----------------------------------------------------------------------------------------

ขอบคุณที่มาบทความจาก: เว็บไซด์สถาบันการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)

Content's Picture

Comment(s)


Vote this Content ?

Create by :


pattra

Status : ผู้ใช้ลงทะเบียน
ไม่ระบุ